25 กันยายน, 2551

การเขียนโครงการ แบบที่ 2

องค์ประกอบของโครงการ
1. ชื่อโครงการ
2. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
3. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์
6. เป้าหมาย
7. สถานที่ดำเนินงาน
8. วิธีดำเนินงาน
9. งบประมาณ
10. การติดตามประเมินผล
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบโครงการ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้
1. ชื่อโครงการ
ต้องเขียนชัดเจนว่าต้องการทำอะไร แก่ใคร ที่ไหน เช่น “โครงการประเมินเชิงปฏิบัติการการเขียนเค้าโครงการวิจัยชั้นเรียนสำหรับครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา......” เป็นต้น
2. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
ต้องระบุไว้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการติดต่อประสาน ถ้าเป็นกลุ่มควรระบุหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการด้วย
3. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ต้องระบุเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุด
4. หลักการและเหตุผล
ควรกล่าวถึงความเป็นมา และความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ถ้าไม่ดำเนินโครงการจะส่งผลเสียหาย หรือทำให้การพัฒนาหยุดชะงักได้อย่างไร
5. วัตถุประสงค์
ต้องเขียนผลที่ได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญคือต้องสามารถวัดได้ รวมทั้งสอดคล้องกับกิจกรรม เป้าหมาย และชื่อโครงการด้วย
6. เป้าหมาย
ต้องระบุอย่างเป็นรูปธรรม และถ้าเป็นเชิงปริมาณได้จะยิ่งดี รวมทั้งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรม
7. สถานที่ดำเนินงาน
ระบุสถานที่ดำเนินโครงการจากเล็กไปหาใหญ่ เช่น จากโรงเรียน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ถึงจังหวัด เป็นต้น
8. วิธีดำเนินงาน
ในส่วนนี้อาจเรียกว่าแผนการดำเนินงานซึ่งมักจะเขียนในรูปตารางดังที่เห็นทั่วไป โดยมีสาระสำคัญ ๆ ดังนี้
1) วิธีการ เขียนให้เห็นกิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับ ระบุแนวทางและวิธีการโดยละเอียด โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรม
2) ระยะเวลา เป็นระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมย่อย
3) สถานที่ เป็นสถานที่ของแต่ละกิจกรรมย่อย
4) ผู้เกี่ยวข้อง ระบุผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามกิจกรรมย่อย
9. งบประมาณ
ระบุงบประมาณทั้งหมดและแหล่งที่มา รวมทั้งแบ่งเป็นหมวด ๆ ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานหรือต้นสังกัดกำหนด
10. การติดตามประเมินผล
ควรระบุประเด็นที่สำคัญ ๆ เช่น ประเมินประเด็นสำคัญอะไรบ้าง ประเมินโดย ใคร ใช้รูปแบบหรือแนวทางอย่างไร เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบใด เป็นต้น
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเมื่อถึงเวลาที่กำหนดจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งประโยชน์หรือผลที่ได้โดยตรงและโดยอ้อม
12. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
โครงการในปัจจุบันหน่วยงานหรือต้นสังกัดมักจะกำหนดให้ผู้รับผิดชอบโครงการระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ โดยอาจจะระบุตัวชี้วัดในลักษณะผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ หรือระบุในลักษณะงบประมาณ เวลา ผลที่ได้ เป็นต้น


(แบบฟอร์มการเขียนโครงการ)

โครงการ .........................................

1. ชื่อโครงการ .......................................................
แผนงาน .....................................
นโยบาย/จุดเน้นของโรงเรียน .......................................
สอดคล้องมาตรฐาน สพฐ. มาตรฐานที่ ........................
………………………………………………………………………………………….

2. หลักการและเหตุผล
…………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………….

3. วัตถุประสงค์
……………………………………………………………………………..…….
……………………………………………………………………..…………….

4. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ …………………………………………………..…

เชิงคุณภาพ ......................……………

5. สถานที่ดำเนินงาน
…………………………………………………………………………………….

6. วิธีดำเนินงาน

ขั้นตอน / กิจกรรม ระยะเวลา สถานที่ ผู้เกี่ยวข้อง

(โครงการที่มีอบรม ให้เพิ่มเติมหลักสูตรการอบรม / วิทยากร / และ ตารางการอบรม)

7. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
……………………………………………………….

8. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
เริ่ม …………………………………
สิ้นสุดโครงการ ........................

9. งบประมาณ
งบประมาณทั้งสิ้น …………………….. บาท
แหล่งงบประมาณ ……………………………………………………….
เป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
1..........................
2. .................................
3. ...................................
โดยขอถัวจ่ายทุกรายการ ตามที่จ่ายจริง
10. การติดตามประเมินผล

การเขียนโครงการ แบบที่ 1

ขั้นตอนในการเขียนโครงการ
1. ชื่อแผนงาน
2. ชื่อโครงการ
3. หลักการและเหตุผล
4. วัตถุประสงค์
5. เป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
8. งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
11. การประเมินผล
12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การวางแผนและการเขียนโครงการ

ความหมายของการวางแผน
มีผู้ให้คำจำกัดความของการวางแผนไว้หลายลักษณะ เช่น การวางแผน คือ การมองอนาคต
การเล็งเห็นจุดดหมายที่ต้องการ การคาดปัญหาเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาทาง
แก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น

การวางแผน เป็นการใช้ความคิดมองจินตนาการตระเตรียมวิธีการต่างๆ เพื่อคัดเลือกทางที่ดี
ที่สุดทางหนึ่ง กำหนดเป้าหมายและวางหมายกำหนดการกระทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์
ที่ตั้งไว้

การวางแผน เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการกำหนดสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การประเมิน
ผลของสิ่งที่กำหนดว่าจะกระทำและกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ
ถ้าจะกล่าวโดยสรุป การวางแผนก็คือการคิดการหรือกะการไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไม
ทำที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และไครทำ

การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
- อนาคต
- การตัดสินใจ
- การปฏิบัติ

ความสำคัญของการวางแผน
ถ้าจะเปรียบเทียบระบบการศึกษากับคน การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามอง
ในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะถ้าสมองไม่ทำงานส่วนอื่นๆของ
ร่างกาย เช่น แขน ขา ก็จะทำอะไรไม่ได้ หรือถ้าคนทำงานไม่ใช้สมอง คือทำงานแบบไม่มีหัวคิด
ก็ลองนึกภาพดูก็แล้วกันว่าจะเป็นอย่างไร คนทุกคนต้องใช้สมองจึงจะทำงานได้ ระบบการศึกษา
หรือการจัดการศึกษาก็่เช่นเดียวกัน ต้องมีการวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิด การเตรียมการ
ว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร

การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น

1. การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมใน
ปัจจุบันแล้ว กำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทาง
ที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญ
พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา

2. การวางแผนเป็นศูนย์กลางประสานงานเช่น ในการจัดการศึกษาเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อ
ประสานงานการศึกษาทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้

3. การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด

4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหารเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่าย
ต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ

ประเภทของแผน

เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้น่าจะพูดถึงประเภทของแผนเสียเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจลักษณะของแผน
แต่ละอย่าง ถ้าจะมองในแง่ของระยะเวลาอาจจะแบ่งแผนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

1. แผนพัฒนาระยะยาว (10 - 20 ปี) กำหนดเค้าโครงกว้างๆ ว่าประเทศชาติของเราจะมีทิศทางพัฒนาไป
อย่างไร ถ้าจะดึงเอารัฐธรรมนูญ และ/หรือแผนการศึกษาแห่งชาติมาเป็นแผนประเภทนี้ก็พอถูไถไปได้
แต่ความจริงแผนพัฒนาระยะยาวของเราไม่มี

2. แผนพัฒนาระยะกลาง (4 - 6 ปี) แบ่งช่วงของการพัฒนาออกเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ 6 ปี โดยคาดคะเน
ว่าในช่วง 4 - 6 ปี นี้ จะทำอะไรกันบ้าง จะมีโครงการพัฒนาอะไร จะงบประมาณใช้ทรัพยากรมากน้อย
เพียงไร แผนดังกล่าวได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั่นเองในส่วนของการศึกษาก็มีแผน
พัฒนาการศึกษาแห่งชาติ(ไม่ใช่แผนการศึกษาแห่งชาติ)ในเรื่องของการเกษตรก็มีแผนพัฒนาเกษตร
เป็นต้น

3. แผนพัฒนาประจำปี (1 ปี) ความจริงในการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษา
ได้มีการหนดรายละเอียดไว้เป็นรายปีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลางได้จัดทำไว้
ล่วงหน้า ข้อมูลหรือความต้องการที่เขียนไว้อาจไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน จึงต้องจัด
ทำแผนพัฒนาประจำปีขึ้น นอกจากนั้น วิธีการงบประมาณของเราไม่ใช้แผนพัฒนาระยะกลางขอตั้งงบ
ประมาณประจำปี เพราะมีรายละเอียดน้อยไป แต่จะต้องใช้แผนพัฒนาประจำปี เป็นแผนขอเงิน

4. แผนปฏิบัติการประจำปี (1 ปี) ในการขอตั้งงบประมาณตามแผนพัฒนาประจำปีในข้อ 3 ปกติมักไม่ได้
ตามที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆขอไป สำนักงบประมาณหรือคณะกรรมาธิการของรัฐสภามักจะตัดยอด
เงินงบประมาณที่ส่วนราชการต่างๆขอไปตามความเหมาะสมและจำเป็นและสภาวการณ์การเงินงบ
ประมาณของประเทศที่จะพึงมีภายหลังทีส่วนราชการต่างๆ ได้รับงบประมาณจริงๆแล้ว จำเป็นที่จะต้อง
ปรับแผนพัฒนาประจำปีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอเงินให้สอดคล้องกับเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งเรียกว่าแผนปฏิบัติ
การประจำปีขึ้น

ความหมายของโครงการ

พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำโครงการว่า หมายถึง
"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กะกำหนดไว้"โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาซึ่ง
ช่วยให้เห็นภาพ และทิศทางการพัฒนา ขอบเขตของการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้
โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต
โครงการโดยทั้วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการ
พัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น

องค์ประกอบของโครงการ

องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้
1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศ
ทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้

2.ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้ง
จนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ

3.หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจน
ชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการ
ตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผน
อื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการ

บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหาย
ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น

4.วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะ
หลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์
มากกว่า 1 ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน และอาจ
จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้
เพียง 1-3 ข้อ

5.เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่จะทำได้
ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุ
ประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ

6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการ
ดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้ว
นำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุด
ท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์

7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ
ปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน
2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์

8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่าง
ชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- เงินงบประมาณแผ่นดิน
- เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุ
ทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ

9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของ
หรือรับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้

10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการ
นั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

11.การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการ
อย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียม
โครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป

12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับ
เรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้

ลักษณะโครงการที่ดี

โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ
- โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้อง
กับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ เป็นต้น

4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
- สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
- ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
- แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น

5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตาม
โครงการได้

6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้


แบบฝึกหัดเขียนโครงการ


ชื่อแผนงาน..............................................................

ชื่อโครงการ.............................................................

หลักการและเหตุผล

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

วัตถุประสงค์

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

เป้าหมาย

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

วิธีดำเนินการ

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

ระยะเวลาดำเนินการ

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

งบประมาณ

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

ผู้รับผิดชอบโครงการ

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

การประเมินผล

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

.....................................................................................

24 กันยายน, 2551

แนวข้อสอบวิชา ง43101 ชุดที่ 1

แบบทดสอบกลางภาคเรียน
วิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี รหัสวิชา ง43101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนตาเบาวิทยา ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

************************************************************************
คำชี้แจง - จงทำเครื่องหมาย (X) ลงในช่องตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

หน่วยที่ 1 กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ปลอดภัย
1.ข้อใดจัดเป็นคำจำกัดความของคำว่า “อุบัติเหตุ”
ก. สภาพการทำงานที่เกิดอันตราย
ข. ความบาดเจ็บและความสูญเสีย
ค. สภาพที่ไม่พึ่งปรารถนาจากการทำงาน
ง. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีผลเสียต่อการทำงาน ชีวิต ทรัพย์สิน
2. ข้อใดเป็นลักษณะของ “ความปลอดภัย”
ก. ปราศจากจากภัยอันตราย
ข. ความสำเร็จในการทำงาน
ค. ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน
ง. ภาวะปลอดจากอุปสรรค
3. ผลดีที่เกิดจากการปฎิบัติงานอย่างปลอดภัย
ก. ลดต้นทุนการผลิต
ข. สงวนคุณภาพชีวิตของพนักงาน
ค. พนักงานทำงานด้วยความรู้สึกมั่นคง
ง. ถูกทุกข้อ
4. ข้อใดจัดเป็นผลเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ
ก. ทำงานเสร็จแล้ว
ข. ต้นทุนในการผลิตลดลง
ค. พนักงานขาดขวัญและกำลังใจ
ง. พนักงานทุ่มเทกำลังกายกำลังความคิดในการทำงานเพิ่มขึ้น
5. สาเหตุสำคัญที่สุด ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในขณะทำงาน คือ
ก. ความตั้งใจ
ข. ความประมาท
ค. ความรวดเร็ว
ง. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
6.ข้อใดกล่าวถูกที่สุดเกี่ยวกับ “ความปลอดภัย”
ก. ทิ้งเศษขยะหรือเศษโลหะลงพื้น
ข. ควรหันด้านคมมีดออกจากตัวผู้ถือ
ค. การปฏิบัติงานต้องทำด้วยความรวดเร็ว
ง. ถูกทุกข้อ
7. สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คือ
ก. ใช้เครื่องมือที่ชำรุดในการปฏิบัติงาน
ข. สภาพภายในโรงงานไม่เป็นระเบียบ
ค.พนักงานปฏิบัติงานโดยไม่สวมอุปกรณ์
ง. ถูกทุกข้อ
8. ข้อใดเป็นการลดอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องจักร
ก. ใช้เครื่องจักรใหม่และทันสมัย
ข. ใช้เครื่องจักรทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ค. ใช้เครื่องจักรที่คุ้นเคยในการทำงานทุกครั้ง
ง. เรียนรู้วิธีการใช้เครื่องจักรและสามารถใช้เครื่องจักรและสามารถใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี
9. วิธีการใด เป็นการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
ก. ใส่แว่นตานิรภัยเมื่อกลึงชิ้นงาน
ข. ใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกับชิ้นงาน
ค. แต่งกายให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
ง. ถูกทุกข้อ
หน่วยที่ 2 กระบวนการทำงานโดยใช้โครงงาน/โครงการ
10. “กระบวนการแสวงหาความรู้ การค้นหาคำตอบโดยการวิเคราะห์และวางแผนอย่างเป็นระบบ” ข้อความนี้เป็นนิยามของคำใด
ก. รายงาน
ข. แผนงาน
ค. โครงงาน
ง. โครงการ
11. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของโครงงาน
ก. ผู้เรียนมีความสนใจในเรื่องนั้นๆ หรือต้องการคำตอบในเรื่องที่สงสัย
ข. ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิธีการเรียนและแหล่งการเรียนรู้
ค. ผู้เรียนวางแผนปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
ง. ผู้สอนเป็นผู้สรุปองค์ความรู้
12. โครงงานในข้อใดผู้ทำโครงงานต้องสำรวจและรวบรวมข้อมูล จำแนกเป็นหมวดหมู่เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงผลงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
ก. โครงงานประเภทพัฒนาผลงาน
ข. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
ค. โครงงานประเภทศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
ง. โครงงานประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูล
13. โครงงานในข้อใดเป็นการศึกษา ค้นคว้า และทดลอง เพื่อนำผลที่ได้มายืนยันหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการเพิ่มคุณภาพหรือคุณค่าของผลผลิต
ก. โครงงานประเภทพัฒนาผลงาน
ข. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
ค. โครงงานประเภทศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
ง. โครงงานประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูล
14.โครงงานประเภทที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่อาศัยหลักการหรือทฤษฎีเพื่อพัฒนา ดัดแปลง ประยุกต์ ให้ผลผลิตมีคุณภาพ คือโครงงานในข้อใด
ก. โครงงานประเภทพัฒนาผลงาน
ข. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
ค. โครงงานประเภทศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
ง. โครงงานประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูล
15.โครงงานในข้อใดเกิดจากการใช้แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่ได้จากรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ แล้วนำมาพัฒนาผลงานจนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
ก. โครงงานประเภทพัฒนาผลงาน
ข. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
ค. โครงงานประเภทศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
ง. โครงงานประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูล
16.ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการวางแผนโครงงาน
ก. การเริ่มโครงงาน
ข. การปฏิบัติจริง
ค. การศึกษาและสำรวจข้อมูลต่างๆ
ง. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงาน
17. เพราะเหตุใดในการพิจารณาเลือกโครงงาน จึงต้องสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด
ก. เพื่อป้องกันการผิดพลาดก่อนปฏิบัติงาน ขณะปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน
ข. เพื่อให้การทำโครงงานสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างราบรื่น
ค. เพื่อให้ผู้เรียนแน่ใจว่าโครงงานที่ทำตรงกับความต้องการ
ง. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคาดการณ์ถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
18. ชื่อโครงงานควรมีลักษณะอย่างไร
ก. เข้าใจง่าย
ข. ชัดเจน สั้น กะทัดรัด
ค. ดึงดูดความสนใจ
ง. เป็นทางการ
19. ที่มาและความสำคัญของโครงงานมีความสำคัญอย่างไร
ก. กำหนดเป็นหัวข้อว่าต้องการให้เกิดผลอะไรจากการที่ผู้เรียนทำโครงงานนี้
ข. อธิบายหลักการ เหตุผล และความจำเป็นในการทำโครงงาน
ค. ระบุข้อมูลที่มีความสำคัญในการทำโครงงาน
ง. ระบุแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ
หน่วยที่ 3 การเขียนโครงงาน / โครงการ
คำตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อที่ 20-23
ก.งบประมาณ
ข.ผู้สนับสนุนโครงการ
ค.หลักการและเหตุผล
ง.บัญชีรายรับ รายจ่าย
20. เงินที่ใช้ในการดำเนินการ 400 บาท
21. กำนันหัตถศึกษา สัญจรดี บริจาคเสื้อนักกีฬาในงานกีฬาสี
22. การปฏิบัติงานตามโครงงานนี้ เป็นการดำเนินการในรายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี นักเรียนที่ได้ปฎิบัติตามโครงงานนี้จะสามารถวิเคราะห์ปริมาณลูกค้าในอนาคตได้…..
23. ลงทุน 400 บาท จำหน่ายได้ 800 บาท ได้กำไร 400 บาท
คำตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อที่ 24-27
ก.ผู้รับผิดชอบโครงการ
ข.ผู้อนุมัติโครงการ
ค.ขั้นตอนการดำเนินงาน
ง.เป้าหมาย
24. นายธรรมนูญ มีเสนา อนุญาตให้จัดกีฬาสีขึ้นในโรงเรียนตาเบาวิทยา
25. นางสาวเริงชัย ผู้จัดทำโครงงาน
26. –เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์
-วัดขนาด
-ตัดตามขนาด
- ประกอบชิ้นงาน
27. นักเรียนโรงเรียนตาเบาวิทยาจำนวน 467 คนได้รับความรู้
คำตอบต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อที่ 28-31
ก.วัตถุประสงค์
ข.ระยะเวลาดำเนินการ
ค.ผู้เห็นชอบโครงการ
ง.ผู้อนุมัติโครงการ
28. นางอำนวย ธรรมธุระ คิดว่าเป็นโครงการที่ดี ควรให้ดำเนินการได้
29. นายธรรมนูญ มีเสนา ผู้อำนวยการโรงเรียนตาเบาวิทยา ทราบข้อคิดเห็นของท่านรองฯ อำนวย ธรรมธุระ จึงอนุญาตให้ทำโครงงานได้
30. ปฏิบัติงานช่วงเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน
31. เพื่อให้นักเรียนสามารถหารายได้ระหว่างเรียนได้

แนวข้อสอบวิชา ง42101 ชุดที่ 1

แบบทดสอบกลางภาคเรียน
วิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี รหัสวิชา ง42101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนตาเบาวิทยา ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

******************************************************
คำชี้แจง - จงทำเครื่องหมาย (X) ลงในช่องตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
(X) ลงในช่องตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. หน่วยงานใดมีหน้าที่ให้บริการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ
ก. กระทรวงสาธารณสุข
ข. กระทรวงอุตสาหกรรม
ค. กระทรวงเกษตร และสหกรณ์
ง. กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
ก. พ.ศ. 2471 ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ข. พ.ศ. 2512 ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองอันตราย
ค. พ.ศ. 2535 ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขาย
ง. พ.ศ. 2542 ประกาศใช้มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน
3. ประแจที่สามารถเลื่อนไปตามขนาด
ของหัวนอตได้คือประแจชนิดใด
ก. ประแจแหวน
ข. ประแจบล๊อก
ค. ประแจเลื่อน
ง. ประแจปากตาย
4. ประแจชนิดใดที่ใช้ครอบขันนอต และสามารถ
เปลี่ยนหัวได้ งอได้ถึง 90 องศา
ก. ประแจบล๊อก
ข. ประแจเลื่อน
ค. ประแจแหวน
ง. ประแจปากตาย
5. เครื่องมือที่ใช้สำหรับเจาะเนื้อไม้หรือเนื้อโลหะ
คือ เครื่องมือชนิดใด
ก. สิ่ว
ข. ประแจ
ค. สว่าน
ง. ไขควง
6. เครื่องมือจับยึดชนิดใดใช้สำหรับจับยึดไม้หรือ
ยึดโครงสร้าง
ก. ปากกาจับไม้
ข. ประแจจับท่อ
ค. ปากกาจับรูปตัวซี
ง. ปากกาจับชิ้นงาน
7. เครื่องมือชนิดใดที่ใช้สำหรับลดขนาดหรือ ตกแต่งผิวหน้าไม้
ก. เลื่อย
ข. กบ
ค. ประแจ
ง. ไขควง
8. กบชนิดใดใช้สำหรับไสไม้ที่แอ่นบิดหรือโค้งที่กบชนิดอื่นไม่สามารถไสได้
ก. กบผิว
ข. กบล้างยาว
ค. กบล้างกลาง
ง. กบล้างสั้น
9. ตะไบชนิดใดใช้สำหรับถูเหล็กให้เรียบเสมอกัน
ก. ตะไบแบน
ข. ตะไบกลม
ค. ตะไบครึ่งวงกลม
ง. ตะไบสามเหลี่ยม
10. ก่อนใช้เครื่องมือทุกชนิดควรตรวจสอบสภาพให้พร้อมก่อนการใช้งานเพื่ออะไร
ก. เพื่อความประหยัด
ข. เพื่อความปลอดภัย
ค. เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ง. เพื่อความสวยงามของชิ้นงาน
11. ข้อใดกล่าวผิด
ก. ช่างคือผู้ที่มีความชำนาญในการฝีมือ
ข. งานช่างเป็นงานที่ทุกคนทำได้ด้วยตนเอง
ค. ช่างคือผู้ที่ประดิษฐ์ชิ้นงานเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
ง. งานช่างเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถทางวิชาชีพ
12. การทำงานช่างที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
ก. เข้มแข็งและอดทน
ข. รับผิดชอบและซื่อสัตย์
ค. มุ่งมั่นและกล้าตัดสินใจ
ง. ค้นคว้าหาความรู้และกระตือรือร้น
13. การมีความรู้เกี่ยวกับงานช่างพื้นฐานมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร
ก. ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
ข. เปิดร้านขายอุปกรณ์งานช่างได้
ค. ให้ความรู้แก่ช่างสาขาต่าง ๆ ได้
ง. เลือกใช้อุปกรณ์งานช่างที่ทันสมัยได้
14. ข้อใดไม่ใช้ลักษณะของการทำงานช่างเบื้องต้น
ก. การทาสีรั้วบ้าน
ข. การทำหน้าต่างเหล็กดัด
ค. การเปลี่ยนสายไฟในบ้าน
ง. การขุดดินเพื่อวางท่อประปา
15. การซ่อมโทรทัศน์ และเครื่องเล่นเทป จัดเป็นงานช่างประเภทใด
ก. งานโลหะ
ข. งานไฟฟ้า
ค. งานช่างยนต์
ง. งานซ่อมบำรุง
16. งานช่างประเภทใดที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซม และตกแต่งบ้าน
ก. งานโลหะ
ข. งานก่อสร้าง
ค. งานช่างยนต์
ง. งานเขียนแบบ
17. การอ่านคู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับงานช่างประเภทใด
ก. งานไฟฟ้า
ข. งานก่อสร้าง
ค. งานช่างยนต์
ง. งานเขียนแบบ และอ่านแบบ
18. งานก่อสร้างประเภทใดที่ช่วยตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ให้ดูสวยงาม
ก. งานสี
ข. งานขัด
ค. งานปูน
ง. งานประปา

19. ข้อใดเกี่ยวข้องกับงานประปา
ก. การขุดบ่อน้ำ
ข. การต่อท่อน้ำทิ้ง
ค. การฉาบปูนบ่อน้ำ
ง. การขายท่อน้ำประปา
20. ข้อใด ไม่ใช่ งานโลหะ
ก. การซื้อขายเศษเหล็ก
ข. การทำประตูเหล็กดัด
ค. การทำหน้าต่างมุ้งลวด
ง. การทำโครงหลังคาเหล็ก
21. เครื่องมือชนิดใดใช้สำหรับตกแต่งปากไม้หรือ
ร่องเดือย
ก. ตะไบ
ข. สว่าน
ค. สิ่วเจาะ
ง. สิ่วปากบาง
22. ในการจับยึดชิ้นงานต้องมีวัสดุรองรับปากกาจับยึดทุกครั้งเพื่ออะไร
ก. เพื่อความประหยัด
ข. เพื่อไม่ให้ชิ้นงานเป็นรอย
ค. เพื่อความสะดวกในการทำงาน
ง. เพื่อความสวยงามของชิ้นงาน
23. เครื่องมือจับยึดชนิดใดที่มีลักษณะเฉพาะในการจับท่อที่กลมให้สามารถหมุนท่อข้อต่อให้หลุด
จากกันได้
ก. ปากกาจับชิ้นงาน
ข. ปากกาจับไม้
ค. ปากกาจับรูปตัวซี
ง. ประแจจับท่อ
24. กบที่ใช้สำหรับไสไม้ตามหลังกบล้างเพื่อให้ผิวไม้เรียบและได้ระดับ คือกบชนิดใด
ก. กบผิว
ข. กบล้างสั้น
ค. กบล้างยาว
25. เครื่องมือตัดชนิดใดที่นิยมใช้กันมากที่สุด
ก. เลื่อยฉลุ
ข. เลื่อยลันดา
ค. เลื่อยตัดไม้
ง. เลื่อยตัดเหล็ก

23 กันยายน, 2551

แนวข้อสอบวิชา ง32101 ชุดที่ 3

แนวข้อสอบวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี รหัส ง32101
โรงเรียนตาเบาวิทยา ต.ตาเบา อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
สอนโดยครูจำรัส เสียงเพราะ

*******************************************************************************
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ไม้บรรทัดเหล็กส่วนใหญ่จะมีขนาดความยาว
เท่าไร
ก. 24 - 36 นิ้ว
ข. 12 - 36 นิ้ว
ค. 10 - 24 นิ้ว
ง. 8 - 12 นิ้ว
2. ค้อนที่ใช้สำหรับตอกหรือทุบในงานเบา ๆ
คือ ค้อนชนิดใด
ก. ค้อนหัวกลม
ข. ค้อนหงอน
ค. ค้อนไม้หรือพลาสติก
ง. ค้อนหัวแบนหรือหัวกลม
3. ข้อใดคือเครื่องมือตอกที่สามารถย้ำหัวหมุดได้
ก. ค้อนหัวกลม
ข. ค้อนหงอน
ค. ค้อนไม้หรือพลาสติก
ง. ค้อนหัวแบนหรือหัวกลม
4. ค้อนที่ใช้สำหรับตอกและถอนตะปู คือ
ค้อนชนิดใด
ก. ค้อนหัวกลม
ข. ค้อนหงอน
ค. ค้อนไม้หรือพลาสติก
ง. ค้อนหัวแบนหรือหัวกลม
5. เลื่อยชนิดใดที่ใช้เลื่อยส่วนโค้งต่าง ๆ เป็นลวดลาย
หรือวงกลมภายนอกได้
ก. เลื่อยฉลุ
ข. เลื่อยตัดไม้
ค. เลื่อยลันดา
ง. เลื่อยตัดเหล็ก
6. เครื่องมือตัดชนิดใดที่นิยมใช้กันมากที่สุด
ก. เลื่อยฉลุ
ข. เลื่อยลันดา
ค. เลื่อยตัดไม้
ง. เลื่อยตัดเหล็ก
7. ไขควงชนิดใดจัดเป็นไขควงชนิดพิเศษที่ไขควง
ธรรมดาไม่สามารถไขได้
ก. ไขควงแฉก
ข. ไขควงออฟเซต
ค. ไขควงปากแบน
ง. ไขควงบล๊อก
8.ไขควงชนิดใดที่ใช้สำหรับสกูรที่มีหัวเป็นกากบาท
ก. ไขควงแฉก
ข. ไขควงบล๊อก
ค. ไขควงออฟเซต
ง. ไขควงปากแบน
9. ประแจที่สามารถเลื่อนไปตามขนาด
ของหัวนอตได้คือประแจชนิดใด
ก. ประแจแหวน
ข. ประแจบล๊อก
ค. ประแจเลื่อน
ง. ประแจปากตาย
10. ประแจชนิดใดที่ใช้ครอบขันนอต และสามารถ
เปลี่ยนหัวได้ งอได้ถึง 90 องศา
ก. ประแจบล๊อก
ข. ประแจเลื่อน
ค. ประแจแหวน
ง. ประแจปากตาย
11.เครื่องมือที่ใช้สำหรับเจาะเนื้อไม้หรือเนื้อโลหะ
คือ เครื่องมือชนิดใด
ก. สิ่ว
ข. ประแจ
ค. สว่าน
ง. ไขควง
12.เครื่องมือจับยึดชนิดใดใช้สำหรับจับยึดไม้หรือ
ยึดโครงสร้าง
ก. ปากกาจับไม้
ข. ประแจจับท่อ
ค. ปากกาจับรูปตัวซี
ง. ปากกาจับชิ้นงาน
13.เครื่องมือชนิดใดใช้สำหรับตกแต่งปากไม้หรือ
ร่องเดือย
ก. ตะไบ
ข. สว่าน
ค. สิ่วเจาะ
ง. สิ่วปากบาง
14.ในการจับยึดชิ้นงานต้องมีวัสดุรองรับปากกาจับยึด
ทุกครั้งเพื่ออะไร
ก. เพื่อความประหยัด
ข. เพื่อไม่ให้ชิ้นงานเป็นรอย
ค. เพื่อความสะดวกในการทำงาน
ง. เพื่อความสวยงามของชิ้นงาน
15.เครื่องมือจับยึดชนิดใดที่มีลักษณะเฉพาะในการ
จับท่อที่กลมให้สามารถหมุนท่อข้อต่อให้หลุดจากกันได้
ก. ปากกาจับชิ้นงาน
ข. ปากกาจับไม้
ค. ปากกาจับรูปตัวซี
ง. ประแจจับท่อ
16. กบที่ใช้สำหรับไสไม้ตามหลังกบล้างเพื่อให้ผิวไม้ เรียบและได้ระดับ คือกบชนิดใด
ก. กบผิว
ข. กบล้างสั้น
ค. กบล้างยาว
ง. กบล้างกลาง
17.เครื่องมือชนิดใดที่ใช้สำหรับลดขนาดหรือตกแต่งผิวหน้าไม้
ก. เลื่อย
ข. กบ
ค. ประแจ
ง. ไขควง
18.กบชนิดใดใช้สำหรับไสไม้ที่แอ่นบิดหรือโค้งที่กบ ชนิดอื่นไม่สามารถไสได้
ก. กบผิว
ข. กบล้างยาว
ค. กบล้างกลาง
ง. กบล้างสั้น
19. ตะไบชนิดใดใช้สำหรับถูเหล็กให้เรียบเสมอกัน
ก. ตะไบแบน
ข. ตะไบกลม
ค. ตะไบครึ่งวงกลม
ง. ตะไบสามเหลี่ยม
20. ก่อนใช้เครื่องมือทุกชนิดควรตรวจสอบสภาพ
ให้พร้อมก่อนการใช้งานเพื่ออะไร
ก. เพื่อความประหยัด
ข. เพื่อความปลอดภัย
ค. เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ง. เพื่อความสวยงามของชิ้นงาน

แนวข้อสอบวิชา ง32101 ชุดที่ 2

แนวข้อสอบวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี รหัส ง32101
โรงเรียนตาเบาวิทยา ต.ตาเบา อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
สอนโดยครู จำรัส เสียงเพราะ
********************************************************************************
คำชี้แจง -ให้นักเรียนจับคู่ข้อความที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ให้มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด

1.…………. ประแจ
2…………. ประแจบล็อก
3…………. ประแจแหวน
4…………. ไขควงปากแบน
5…………. ไขควงแฉก
6…………. ไขควง
7…………. ประแจเลื่อน
8…………. ไขควงบล็อก
9…………. ไขควงออฟเซต
10…………. ประแจปากตาย เบอร์ 4

ก. เป็นไขควงที่ใช้กับนอต 6 เหลี่ยม
ข. เป็นเครื่องมือที่ใช้เลื่อนไปตามขนาดของหัวนอต
ค. เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ไขสกูร
ง. ใช้กับหัวนอตที่มีขนาดเดียวกัน
จ. เป็นไขควงชนิดพิเศษที่ไขควงธรรมดาไม่สามารถไขได้
ฉ. ใช้สำหรับสกูรที่มีหัวเป็นกากบาท
ช. สามารถขันในที่แคบ ได้ดีกว่าประแจอื่น ๆ
ซ. เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ขันนอตที่มีหัวเหลี่ยม
ฌ. ใช้ขันสกูรที่มีร่องผ่าที่เส้นผ่านศูนย์กลางของหัวสกูร
ญ. ลักษณะคล้ายกับประแจแหวนแต่สามารถเปลี่ยนหัวได้

แนวข้อสอบวิชา ง32101 ชุดที่ 1

แนวข้อสอบ
วิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี รหัส ง32101
โรงเรียนตาเบาวิทยา ต.ตาเบา อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
สอนโดยครู จำรัส เสียงเพราะ


คำชี้แจง เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว โดยทำเครื่องหมาย กากบาท  ลงในกระดาษคำตอบ

1.ไม้บรรทัดเหล็กส่วนใหญ่จะมีขนาดความยาวเท่าไร
ก. 8 -12 นิ้ว
ข. 10 -24 นิ้ว
ค. 12 -36 นิ้ว
ง. 24 -36 นิ้ว
2.เครื่องมือตอกที่สามารถย้ำหัวหมุดได้คือข้อใด
ก. ค้อนหงอน
ข. ค้อนหัวกลม
ค. ค้อนไม้หรือพลาสติก
ง. ค้อนหัวแบนหรือหัวกลม
3.ค้อนชนิดใดใช้สำหรับตอกและถอนตะปู
ก. ค้อนหงอน
ข. ค้อนหัวกลม
ค. ค้อนไม้หรือพลาสติก
ง. ค้อนหัวแบนหรือหัวกลม
4.ค้อนชนิดใดใช้สำหรับตอกหรือทุบในงานเบา ๆ
ก. ค้อนหงอน
ข. ค้อนหัวกลม
ค. ค้อนไม้หรือพลาสติก
ง. ค้อนหัวแบนหรือหัวกลม
5.เครื่องมือตัดชนิดใดที่นิยมใช้กันมากที่สุด
ก. เลื่อยฉลุ
ข. เลื่อยตัดไม้
ค. เลื่อยลันดา
ง. เลื่อยตัดเหล็ก
6.เลื่อยชนิดใดที่ใช้เลื่อยส่วนโค้งต่าง ๆ เป็นลวดลายหรือวงกลมภายนอกได้
ก. เลื่อยลันดา
ข. เลื่อยฉลุ
ค. เลื่อยตัดไม้
ง. เลื่อยตัดเหล็ก
7.ไขควงชนิดใดที่ใช้สำหรับสกูรที่มีหัวเป็นกากบาท
ก. ไขควงแฉก
ข. ไขควงบล๊อก
ค. ไขควงปากแบน
ง. ไขควงออฟเซต
8.ไขควงชนิดใดจัดเป็นไขควงชนิดพิเศษที่ไขควง ธรรมดาไม่สามารถไขได้
ก. ไขควงแฉก
ข. ไขควงบล๊อก
ค. ไขควงปากแบน
ง. ไขควงออฟเซต
9.ประแจชนิดใดที่ใช้ครอบขันนอต และสามารถเปลี่ยนหัวได้ งอได้ถึง 90 องศา
ก. ประแจเลื่อน
ข. ประแจแหวน
ค. ประแจบล๊อก
ง. ประแจปากตาย
10.ประแจชนิดใดที่สามารถเลื่อนไปตามขนาดของหัวนอตได้
ก. ประแจเลื่อน
ข. ประแจแหวน
ค. ประแจบล๊อก
ง. ประแจปากตาย
11.เครื่องมือชนิดใดใช้สำหรับเจาะเนื้อไม้หรือเนื้อโลหะ
ก. สิ่ว
ข. สว่าน
ค. ไขควง
ง. ประแจ
12.เครื่องมือชนิดใดใช้สำหรับตกแต่งปากไม้หรือ ร่องเดือย
ก. สว่าน
ข. ตะไบ
ค. สิ่วเจาะ
ง. สิ่วปากบาง
13.เครื่องมือจับยึดชนิดใดใช้สำหรับจับยึดไม้หรือยึดโครงสร้าง
ก. ประแจจับท่อ
ข. ปากกาจับไม้
ค. ปากกาจับชิ้นงาน
ง. ปากกาจับรูปตัวซี
14.เครื่องมือจับยึดชนิดใดที่มีลักษณะเฉพาะในการจับท่อที่กลมให้สามารถหมุนท่อข้อต่อให้หลุดจากกันได้
ก. ประแจจับท่อ
ข. ปากกาจับไม้
ค. ปากกาจับชิ้นงาน
ง. ปากกาจับรูปตัวซี
15.ในการจับยึดชิ้นงานต้องมีวัสดุรองรับปากกากจับยึด ทุกครั้งเพื่ออะไร
ก. เพื่อความประหยัด
ข. เพื่อไม่ให้ชิ้นงานเป็นรอย
ค. เพื่อความสวยงามของชิ้นงาน
ง. เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
16.เครื่องมือชนิดใดที่ใช้สำหรับลดขนาดหรือตกแต่งผิวหน้าไม้
ก. กบ
ข. เลื่อย
ค. ไขควง
ง. ประแจ
17.กบชนิดใดใช้สำหรับไสไม้ที่แอ่นบิดหรือโค้งที่กบชนิดอื่นไม่สามารถไสได้
ก. กบผิว
ข. กบล้างยาว
ค. กบล้างกลาง
ง. กบล้างสั้น
18.กบชนิดใดใช้สำหรับไสไม้ตามหลังกบล้างเพื่อให้
ผิวไม้เรียบและได้ระดับ
ก. กบผิว
ข. กบล้างสั้น
ค. กบล้างกลาง
ง. กบล้างยาว
19.ตะไบชนิดใดใช้สำหรับถูเหล็กให้เรียบเสมอกัน
ก. ตะไบกลม
ข. ตะไบแบน
ค. ตะไบสามเหลี่ยม
ง. ตะไบครึ่งวงกลม
20.ก่อนใช้เครื่องมือทุกชนิดควรตรวจสอบสภาพให้พร้อมก่อนการใช้งานเพื่ออะไร
ก. เพื่อความปลอดภัย
ข. เพื่อความประหยัด
ค. เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
ง. เพื่อความสวยงามของชิ้นงาน

19 กันยายน, 2551

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1
เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร

“ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” (เกษม วัฒนชัย,2548,หน้า 16-17)
ถอดสาระจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. แนวคิดหลัก “แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัฒน์” (การสร้างขบวนการขับเคลื่อน…เศรษฐกิจพอเพียง หน้า 13)
2. วิเคราะห์สาระของหลักคิด
1) แกนของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงอยู่และการปฏิบัติตนตามทางสายกลาง
2) ผู้ที่ต้องปฏิบัติ คือ ประชาชนในชาติทุกระดับ หน่วยทางสังคม คือ
- ระดับครอบครัว
- ระดับชุมชน และ
- ระดับรัฐ
นั่นหมายความว่า บุคคลและองค์กรทางสังคมทั้งภาครัฐและภาคประชาชนทุกภาคส่วน ทุกหน่วยระดับจะต้องดำรงอยู่และปฏิบัติตนตามทางสายกลาง

2
3) ยิ่งเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ จะต้องเน้นเป็นพิเศษ คือ ต้องนำเอาหลักปฏิบัติปรัชญา “ทางสกกลาง” นี้มาใช้ เป็นฐานคิด ฐานทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของทุกองค์กร และทุกระดับ

3. ทางสายกลางคืออะไร และอย่างไร? คือ ทางชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง ตามกฎธรรมชาติ ที่มีอยู่ เป็นอยู่ ทั้งที่ตัวมนุษย์ และรอบ ๆ ตัวมนุษย์กฎธรรมชาติที่เป็นอยู่คืออะไร
คือ กฎแห่งความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทนอยู่นานตลอดไปตามความต้องการของมนุษย์ไม่ได้ และหาตัวตนที่แน่นอนไม่ได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามปัจจัยที่มีอยู่มนุษย์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และต้องอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ จะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะถูกต้อง พอดี มีความศานติสุขได้จะต้องปฏิบัติตนดำรงตนตามกฎธรรมชาติไม่ฝืนกฎ ไม่ฉีกกฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เข้าใครออกใครแต่เป็นกลางเสมอกฎธรรมชาติที่ไม่เข้าใครออกใครนี้ ภาษาธรรม ท่านเรียกว่า มัชเฌนธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นกลาง หรือ หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ (พระธรรมปิฎก ประยุทธ ปยุตฺโต,257)
4. มนุษย์ / สังคมมนุษย์จะเดิน/ปฏิบัติตามทางสายกลาง หรือ หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ ได้อย่างไร จะปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ ได้เข้าถึงธรรม คือ ความจริงนั้น จึงจะปฏิบัติให้สอดคล้อง ถูกต้องได้ที่ว่า ได้เรียนรู้ได้เข้าใจ ได้เข้าถึง และได้ปฏิบัติตามนั้นอย่างไร ?คือ ได้ฝึกจิต ฝึกความคิด ความเห็นของตนให้คิดถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง หรือตามกฎธรรมชาติที่ว่านั้น เรียกในภาษาธรรมว่า ปัญญาสิกขา คือ การฝึกอบรมจิตจนเกิดปัญญาแสงสว่างคือ ได้ฝึกจิตให้เกิดความเพียรพยายาม ให้แน่วแน่ มั่นคง ไม่วอกแวกโลเล มีสติคอยกำกับ เพื่อให้เป็นปัจจัยเกิดปัญญา หรือ แสงสว่างขึ้นในจิต ภาษาธรรมเรียกว่า จิตสิกขา คือ การฝึกฝนจิตให้เกิดความสงบแน่วแน่ มั่นคงคือ ได้ฝึกกาย ฝึกวาจา ให้ทำให้พูด ในสิ่งที่มีสาระเป็นจริง ไม่เป็นพิษภัยกับตนเองและผู้อื่น ไม่สร้างไม่เสพสิ่งที่ก่อปัญหาแก่กายใจตนเอง และผู้อื่นและสิ่งอื่น มุ่งพากายใจเข้าสู่ความสงบเย็น เพื่อเกิดแสงสว่าง คือ ปัญญาต่อไป ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ศีลสิกขา คือ การฝึกกายวาจาให้สะอาดหมดจดในทางปฏิบัติจะต้องทำให้ครบวงจร และขับเคลื่อนหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความก้าวหน้า และเข้าถึงความจริงได้ตามลำดับ และตามศักยภาพของผู้ฝึก ผู้ศึกษานี้คือ คำอธิบาย เรื่องทางสายกลาง พอสังเขปที่ปราชญ์ทั้งหลายเขาอธิบายไว้คนใด ครอบครัวใด ชุมชนใด รัฐใด เดินตามทางสายกลางที่ว่านี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


3

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517[1] และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[2] ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ "กษัตริย์นักพัฒนา" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ[3] และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชนอย่าง ประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก, อภิชัย พันธเสน และ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคม[3]
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) [2][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542







4



รูปที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

5
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตแนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
"ทำความดี"ตามรอย"พ่อหลวง"ต้นแบบการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง


รูปที่ 2 ภาพการทำดีตามรอยพ่อ
นับเป็นปีมหามงคลอันยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดินในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ด้วยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พสกนิกรเห็นถึงการทรงงานหนัก จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ ขณะเดียวกันก็ได้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ อาทิ ทรงพระปรีชาสามารถโดดเด่นด้านภาษาและวรรณกรรม ทรงเป็นนักแต่งเพลง นักดนตรีและผู้เรียบเรียงทำนอง ทั้งยังทรงสนพระทัยงานศิลปะต่างๆ ฯลฯ พระอัจฉริยภาพด้าน
6
ต่างๆ นี้เอง ได้เป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนดำเนินรอยตาม รวมไปถึงคนในวงการบันเทิงก็เห็นพ้องต้องกันว่า พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุด นักร้องชื่อดัง "นัท" มีเรีย เบเนเดตตี้ กล่าวว่า ทุกวันนี้ได้ดำเนินชีวิตตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยการอยู่อย่างพอเพียง "สิ่งที่ดำเนินตามในหลวงคือการอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือง ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดน้ำ หรือจะเป็นเรื่องเงินทอง พลังงาน อีกสิ่งหนึ่งก็คือพระเองค์ท่านทรงใช้ชีวิตอย่างสมถะ ซึ่งนัทก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอย่างสมถะ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ไม่ใช้ เราไม่ควรที่จะฟุ้งเฟ้อกับอะไรเหล่านี้" นักร้อง-นักแสดงสาวกล่าว ทางด้านนางเอกชื่อดัง "หน่อย" บุษกร พรวรรณะศิริเวช กล่าวว่า พยายามทำตามพระราชดำรัสในเรื่องอยู่อย่างพอเพียง เช่นกัน "สิ่งที่หน่อยดำเนินตามรอยในหลวง คือพระราชดำรัสที่ว่าอยู่อย่างพอเพียง รู้จักประหยัด คือพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี อยู่อย่างพอเพียงทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การใช้ชีวิต ไม่ต้องขวนขวายในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ อย่างหน่อยไม่ต้องการเป็นผู้บริหารใหญ่โต หรือว่าเป็นเจ้าของรายการ คือเราทำตามความสามารถ อยู่อย่างพอเพียงในระดับหนึ่งก็มีความสุขแล้ว ไม่ต้องแข่งขันอะไรกับใคร ไม่ใช่ว่าไม่มีเงินแล้วจะเป็นคนไม่เก่ง อย่างที่บอกว่าในหลวงของเราทรงสอนและให้อะไรกับเราหลายอย่าง หน่อยเองก็ประทับใจในทุกๆ เรื่องของท่าน ยิ่งดูพระราชประวัติ เราซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของท่าน ยิ่งอ่านในหนังสือของท่านที่เล่าถึงเรื่องของสมเด็จย่า ท่านรักแม่ แล้วบางเรื่องเราอ่านยังน้ำตาไหล หรืออย่างเรื่องที่ในหลวงของเราทำให้ประเทศชาติ คงไม่มีชาติใดทำให้ได้ขนาดนี้" หน่อย กล่าว "โก้" เศกพล อุ่นสำราญ หรือ "โก้ มิสเตอร์แซกแมน" ศิลปินผู้รักการเป่าแซ็ก เป็นคนหนึ่ง ที่ยึดแนวทางการเป็นศิลปินที่ดีจากในหลวง ซึ่งทรงดนตรีด้วยใจจริงๆ "ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้ยินเสมอมาว่า พระองค์ท่านทรงดนตรีอย่างไม่เคยเหน็ดเหนื่อย คนบอกว่าท่านทรงดนตรีทั้งคืนด้วยความจริงจัง ด้วยใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ตัวผมเองน้อมรับเอามาเป็นแบบอย่างเสมอ รวมถึงยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า ในขณะที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เอาเรื่องดนตรีมาพูดเป็นตัวเงิน แต่เมื่อไรที่ผมนึกถึงพระองค์ท่าน ซึ่งทรงดนตรีด้วยใจ เรื่องการคิดถึงตัวเงินก็จะลบไปจากหัวของผมทันที ผมคิดเสมอว่าอยากจะเล่นดนตรีให้ดีที่สุด สิ่งใดที่ทำให้ดนตรีก้าวหน้าไปได้ ก็จะทำ เพื่อให้วงการดนตรีไทยดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ" นักดนตรีชื่อดัง กล่าว ด้าน จิรพรรณ อังศวานนท์ นักดนตรีชั้นแนวหน้าของเมืองไทย กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ถึงแม้ในหลวงท่านจะมีพระราชกรณียกิจมากมาย แต่พระองค์ยังทรงดนตรีอยู่เสมอๆ "มีคนกล่าวไว้ว่า ถ้าในหลวงเป็นคนธรรมดา คงจะทรงเป็นนักดนตรีระดับโลก ระดับนานาชาติไปแล้ว ที่ผ่านมาเรารู้กันดีอยู่แล้วว่า พระปรีชาสามารถของพระองค์ทรงมีอย่างกว้างขวาง ท่านทรงดูแลประชากร 60 ล้านคนในทุกๆ เรื่อง สิ่งที่ผมรับมาตลอดและดำเนินรอยตาม คือความเรียบง่ายของพระองค์ พี่ชายสองคนของผมเล่นดนตรีรับใช้พระองค์อยู่ในวัง ผมเลยมีโอกาสได้ยินเรื่องในวังบ่อยๆ ผมรู้มาว่าท่านทรงใส่เสื้อขาดก็ได้ แม้กระทั่งวิธีการใช้ยาสีฟัน ท่านก็ทรงใช้อย่างคุ้มค่ามาก
7
มันเหมือนเป็นการสอนพวกเราว่า ท่านทรงประหยัดและติดดิน ทำให้ผมน้อมรับสิ่งนี้และดำเนินรอยตามพระองค์ท่านมาเสมอ" จิรพรรณ กล่าว ส่วน "นีน่า" กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ ผู้ดำเนินรายการคนดังจากรายการ "ผู้หญิงถึงผู้หญิง" ก็เห็นด้วยว่าพ่อหลวงของเรา ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถครบในทุกๆ ด้าน ทั้งศิลปะ ดนตรี การเมือง การเกษตร กีฬา ถ้าจะให้เธอตามรอยพระองค์ท่านคงยาก "แต่ถึงอย่างนั้น น่าว่าก็ยังมีอีกหลายอย่างที่เราสามารถเอาแบบอย่างจากท่านได้ คือการประหยัด อย่างที่เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า แม้พระองค์ท่านจะเป็นถึงพระเจ้าแผ่นดิน แต่ยังทรงใช้ยาสีฟันจนหมดหลอด ใช้ของไม่ฟุ้งเฟ้อ โปรดที่จะมีชีวิตอย่างเรียบง่าย ทรงใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมากๆ ท่านทรงสนใจสิ่งรอบตัว เป็นนักอ่านตัวยง ซึ่งถือว่าสำคัญมาก เพราะคนเราจะเก่ง ฉลาด ต้องขยันอ่านในทุกๆ เรื่อง ถ้าน่าจะตามรอยท่าน น่าก็ขอตามรอยในสิ่งที่สามารถทำได้ ซึ่งคือการประหยัด รักการอ่าน เชื่อในความดี พระองค์ท่านถือว่าเป็นตัวอย่าง ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี แถมยังสอนให้คนไทยใจกว้าง ทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าใครสามารถทำตามท่านได้ ก็ถือว่าที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือท่านทรงเป็นนักประชาธิปไตยตัวยง เป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง แม้ท่านจะเป็นพระมหากษัตริย์ แต่ท่านก็ไม่เคยสั่งการหรือทำสิ่งใดที่เป็นการละเมิดกฎหมาย น่าอยากจะเป็นประชาชนที่อยู่ในประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่ดี และอยากชวนให้คนอื่น ช่วยกันยึดถือระบอบประชาธิปไตยเพื่อถวายท่านด้วย และในโอกาสนี้ก็อยากจะถือโอกาสขอถวายพระพรให้พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน" ด้านผู้ประกาศข่าวสาวชื่อดังของช่อง 3 มีสุข แจ้งมีสุข กล่าวว่า เพียงแค่ได้ฟังเพลง "พลังแผ่นดิน" และได้เห็นพระองค์ท่านมีพระราชกรณียกิจมากมาย ก็ทำให้เธอตั้งปณิธานว่าจะทำความดี "ช่วงที่ผ่านมา ไก่ได้เห็นข้อมูลจากที่ต่างๆ ว่าท่านเสียสละเพื่อชาวไทยมาก ก็รู้สึกว่าทำไมเราถึงมีพระมหากษัตริย์ดีขนาดนี้ ในเมื่อท่านยังเป็นแบบอย่างได้เลย ท่านอยู่ในจุดสูงที่สุด จะสามารถอยู่สบายเฉยๆ ก็ได้ แต่ท่านยังเสียสละ ทำไมเราถึงไม่เอาอย่างท่าน ไก่เลยตั้งมั่นอย่างที่สุดว่าไม่ว่าจะทำงานอะไร จะทำอย่างอดทน หรืออย่างน้อยก็จะทำความดี ไม่สร้างปัญหาที่ทำให้พระองค์ท่านไม่สบายพระทัย ไก่ว่าถ้าเพียงแต่ประชาชนคนไทยคิดแบบนี้ 60 ล้านคน ก็ได้ 60 ล้านความดีแล้ว" ด้าน "นีโน่" เมทนี บุรณศิริ กล่าวว่า ชอบระบบการวางรากฐาน การวางแผนการล่วงหน้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงวางแผนอย่างเป็นระบบ "ดูได้เลยว่าจะเป็นโครงการใดๆ ก็ตาม พระองค์จะทรงวางแผนอย่างเป็นระบบ ไม่มีการก้าวกระโดด ไม่กระโดดข้าม ภูมิปัญหา หรือขีดความสามารถของประชาชน ท่านไม่ได้ยัดเยียดให้ประชาชน แต่ท่านทรงส่งเสริมให้ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตรงนี้ผมนำมาใช้กับตัวเอง และบอกตัวเองเสมอว่าไม่ทำเกินความสามารถ ไม่ทำอะไรเกินตัว เพราะเราจะล้มทันที และผมเชื่อมั่นในคำว่าพระปรีชาสามารถของท่าน ในการมีพระราชวินิจฉัยอะไร อย่างเช่น ไฟฟ้า พระองค์ทรงหาอะไรมาทดแทน เพราะไม่อยากให้ประชาชน
8
สิ้นเปลือง แต่กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลพยายามยัดเยียดให้ เดี๋ยวนี้ดูได้ว่าชาวเขามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะแยะ ไปหมด มีแต่การสิ้นเปลือง ผมว่าพระบาทสมเด้จเจ้าอยู่หัว คงจะไม่รู้จะรับสั่งอะไรแล้ว เพราะรับสั่งอะไรแล้วไม่คิดกันต่อ เหมือนพ่อทำแต่ลูกไม่ทำตาม ถ้าเราเป็นพ่อ ลูกไม่ทำตาม ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจนะ" นีโน่ กล่าว เพียงเศษเสี้ยวจากคนบันเทิง ที่อยากทำความดี และความมุ่งมั่นในงานต่างๆ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจ จากพระราชกรณียกิจอันมากมายของในหลวงของเรา เท่านี้ก็นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แล้ว
ความสุขบนความพอเพียง: ความมั่นคงในบั้นปลายชีวิต 1
รศรินทร์ เกรย์ 2
ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ 3
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิตย์ 4


“ความสุข” ของคนไทยเป็นเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2548 – 2551 ) ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับแผนพัฒนาฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ที่เสนอว่าความสุขเริ่มจากระดับบุคคลก่อนและขยายวงกว้างไปยังครอบครัว ชุมชน และสถาบันต่าง ๆ และ ระดับประเทศตามลำดับ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2548)
แนวคิดการพัฒนาประเทศโดยให้ความสำคัญกับความสุขมากกว่าการให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ซึ่งริเริ่มโดยพระราชาธิบดี จิกเม ซิงเย วังชุก (Jigma Singye Wang Chuk ) กษัตริย์แห่งประเทศภูฐาน ได้ถูกนำไปอภิปรายอย่างกว้างขวางในหลายภูมิภาค (เจษณี สุขจิรัตติการ 2547) สำหรับในประเทศไทย นายแพทย์ประเวศ วะสี (2548) ได้เสนอแนวคิด ความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคมไทย ซึ่งรวมมิติทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและจิตใจไว้ด้วย โดยที่มุมมองทางเศรษฐกิจ เน้นไปที่มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง
ความสุขเป็นความรู้สึกองค์รวมเชิงอัตตวิสัย (Subjective) อาจเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ความสุขเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในเป็นเรื่องของจิตใจ เช่น การมีความสุข เนื่องจากการมีศีลธรรม สมาธิ หรือปัญญา ความรู้สึกพอเพียง ไม่โลภ (พระธรรมปิฎก มปป.) และความสุขซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัจจัยภายนอก เช่น มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีครอบครัวอบอุ่น การมีสุขภาพดี (ประเวศ วะสี 2548)
ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะประชากรสูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่

9

เปราะบางและพึ่งพิงผู้อื่น มีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ในปัจจุบันนี้คนไทยเมื่อมีอายุ 55 ปี จะมีชีวิตอยู่ได้อีกต่อไปโดยฉลี่ย 23 ปีสำหรับผู้ชาย และ 27 ปีสำหรับผู้หญิง (Prasartkul and Rakchanyaban 2002) ตัวชี้วัดนี้ทางประชากรศาสตร์เรียกว่า อายุขัยเฉลี่ยเมื่ออายุ 55 ปี หรือใช้สัญญลักษณ์ e55 ชึ่งในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ถ้าผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ย่อมทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอาจมีชีวิตยืนยาวไปกว่านี้ เนื่องจากสุขภาพกาย และสุขภาพใจไม่สามารถแยกจากกันได้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุ ทั้งปัจจัยภายนอก หรือสภาวะแวดล้อม และปัจจัยภายในทางด้านจิตใจของแต่ละบุคคล
ความสุข: ความหมาย ความสุขในทางพระพุทธศาสนา เกิดจากความสุขที่สัมพันธ์กับจากปัจจัยภายนอก และ ความสุขจากปัจจัยภายใน ความสุขจากปัจจัยภายนอก คือ ความสุขจากวัตถุที่สามารถเป็นเจ้าของได้ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค รถยนต์ ความสุขจากปัจจัยภายในหรือจิตวิญญาณเกิดจาก การปรุงแต่ง การฝึกจิต การนั่งสมาธิ ซึ่งจิตที่มีการฝึกฝนดีแล้ว จะสามารถมีภูมิต้านทานต่อความทุกข์จากปัจจัยภายนอก (พระธรรมปิฎก มปป.)
ความสุขที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก หรือทั่วๆไปใช้คำว่า “ ความอยู่ดีมีสุข” หรือ “ คุณภาพชีวิต” ซึ่งเป็นรูปธรรม และวัดเชิงภาวะวิสัย (Objective) ดัชนีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นการวัดองค์ประกอบความสุขจากปัจจัยภายนอก เช่น สุขภาพ ระดับการศึกษา การทำงาน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สภาพครอบครัวความเป็นอยู่ สภาพความเป็นอยู่ในชุมชน (สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ 2548) ศ. นพ. ประเวศ วะสี (2548) ได้ใช้คำว่า “ ความอยู่เย็นเป็นสุข” เป็นภาพสะท้อนของสังคมที่มีความสุขจากองค์รวมของทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน
ความสุขในทางจิตวิทยา เป็นความรู้สึกรวมทางอารมณ์ ที่แต่ละบุคคลตัดสินว่ามีความสุขมากหรือน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตที่กำลังดำเนินอยู่ ประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต และทัศนะคติที่มีต่อการดำเนินชีวิต หลักการวิธีคิดประสบการณ์ชีวิตอาจมีทั้งที่ก่อให้เกิดความสุข และความทุกข์ และระดับของความสุขและความทุกข์ขึ้นอยู่กับเราจะจดจำประสบการณ์ชีวิตนั้นได้มากหรือน้อย (Alexandrova 2005)
ทฤษฎีทางจิตวิทยา เชื่อว่าระดับของความสุขของแต่ละบุคคลเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเป็นคุณลักษณะที่เปลี่ยนไม่ได้ตลอดชีวิต ดังนั้นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ก็จะไปเพิ่มหรือลดระดับความสุขที่คงที่อยู่แล้ว อยู่ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อระยะเวลาผ่านไป ระดับความสุขก็จะกลับไปเท่าเดิม (Kahneman 1999; Csikszentmihalyi and Jeremy 2003)
ความสุข: มาตรวัด ดังที่ได้กล่าวว่า ระดับความสุขขึ้นอยู่กับหลายๆ องค์ประกอบ การสร้างดัชนี (มาตรวัด) ที่มีหลายองค์ประกอบทำได้ 2 แบบคือ 1) จากองค์ประกอบต่าง ๆ แล้วรวมเป็นดัชนีมวล
10
รวม (Composite index) หรือ 2) จากความรู้สึกรวมก่อน ซึ่งจะเป็นคำถามเดียว แล้วจึงพิจารณาองค์ประกอบ
สำหรับประเทศไทยมีการพัฒนาตัวชี้วัดความสุขทั้งสองแบบ ในแบบแรก ยงยุทธ ขจรธรรม และคณะ (2543)ได้เก็บข้อมูลองค์ประกอบของความสุขก่อน และหาค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชากรที่ศึกษา ซึ่งค่าถ่วงน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบไม่เท่ากัน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้หาค่าดัชนีมวลรวมความอยู่ดีมีสุขโดยรวมจากองค์ประกอบต่างๆ เช่นเดียวกันแต่ให้ค่าถ่วงน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบเท่ากัน สำหรับการพัฒนาดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index –HDI) ขององค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ใช้ทั้งสองแบบ (Irala and Gil 1999)
สำหรับวิธีการที่สอง ซึ่งเป็นการใช้คำถามเดียว สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้ศึกษาถึงความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว โดยสอบถามถึงระดับความสุข ตั้งแต่ระดับ 1-10 (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว 2548) สำหรับโลกตะวันตกให้ความสำคัญกับคำถามเดียว (Hird 2003; World Data Base of Happiness: http:///www.eur.nl/fsw/happiness/) โดยมีระดับความสุขต่างกันออกไปตั้งแต่ 4 ถึง 5 ระดับ และ 0-10. สำหรับคำถามเดียว เช่น เมื่อพิจารณาจากทุกสิ่งทุกอย่างรวมกัน ท่านมีความรู้สึกพอใจในชีวิตอย่างไรในปัจจุบัน (How satisfied are you with your life, all things considered? ) คำตอบมี 4 ระดับ ตั้งแต่ พอใจมาก จนถึงไม่พอใจเลย (Kohler et al 2005)
ในการศึกษาครั้งนี้ การวัดความสุขได้ใช้คำถามเดียว คือ “ ตอนนี้ท่านมีความรู้สึกอย่างไร” ไม่มีคำที่มีความหมายในเชิงบวก เช่น พอใจ หรือ ความสุข ในคำถาม เพราะทุกคนมีความทุกข์และความสุข สุขมากคือทุกข์น้อย โดยให้ผู้ตอบสัมภาษณ์มองภาพยิ้ม คำตอบมีระดับ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 โดยที่ 0 หมายถึง มีความทุกข์มากที่สุด 5 หมายถึง ไม่สุขไม่ทุกข์ 10 หมายถึง มีความสุขมากที่สุด และในคำถามถัดไป ถามว่า “สาเหตุที่ท่านตอบคำถามตามข้อ (ระดับความสุข) เพราะอะไร” โดยตอบได้ 3 คำตอบเป็นปลายเปิดเรียงตามระดับความสำคัญ
นอกจากนี้ยังมีคำถามในชุดความสุขอีกสองคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกในอนาคต คือ “ ในอนาคตต่อไปข้างหน้าท่านคิดว่าท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร” คำตอบเหมือนกับความรู้สึกในปัจจุบัน และคำถามเกี่ยวกับความมั่นใจต่อความรู้สึกนั้นว่าจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข
ในงานวิจัยความสุขของผู้สูงอายุพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสุข ได้แก่ สถานะทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม การเกื้อหนุนทางสังคมหรือการมีเครือข่ายทางสังคม (Pinquart and Soren 2000) และปัจจัยทางด้านครอบครัว แต่ตัวแปรเฉพาะเรื่องมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น ผู้สูงอายุที่มีฐานะทางการเงินพอเพียง มีโรคเรื้อรังน้อย และได้รับความเกื้อหนุนทางสังคมมากกว่ามีความรู้สึกหดหู่น้อยกว่า (Chi 1995) การมีญาติพี่น้องมาก มีการศึกษามากกว่า มีรายได้มากกว่า มีความพอใจ
11
ในรูปแบบการอยู่อาศัย มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญต่อความพอใจในชีวิต (Ho et al 1995 ) แต่บางการศึกษาพบว่า รายได้เท่านั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสุขของผู้สูงอายุ (Li 1995) หรือพบว่าสภาพแวดล้อมในครอบครัว และสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญ ( Meng and Xiang 1997) และการได้รับบำนาญ การดูแลสุขภาพ ขนาดของครอบครัวและรูปแบบการอยู่อาศัย เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสุขใจในชีวิต (Pei and Pillai 1999)
ความสุขทางใจของผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ในสังคมตะวันตกซึ่งเป็นสังคมแบบปัจเจกชนนิยม (Individualistic Society) ความสุขของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับ การพึ่งพาตนเองได้ การควบคุมสถานการณ์ การพัฒนาตน ความพึงพอใจในชีวิต การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และการยอบรับตนเอง (Ryff 1989) สำหรับความสุขของผู้สูงอายุไทย ซึ่งอยู่ในรูปแบบสังคมตะวันออกที่มีลักษณะสังคมรวมหมู่ (Collective Society) เน้นการพึ่งพาอาศัยกัน พบว่าผู้สูงอายุไทยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสุขใน 5 มิติ คือ 1)ความสามัคคีปรองดอง ของครอบครัวและเพื่อนบ้าน 2) การพึ่งพาอาศัยกันและกันระหว่างผู้สูงอายุและลูกหลาน รวมถึง เพื่อนบ้าน และชุมชน 3) ความสงบสุขและการยอมรับ หรือการทำใจให้มีความสุข ซึ่งเป็นผลมาจากศาสนา 4) การได้รับความเคารพ นับถือ และ 5) ความเบิกบาน การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน การไปวัด (จิราพร และคณะ 2543; Ingersoll-Dayton et al. 2004)













คำนำ
เอกสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ความเป็นเลิศทางวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “ เศรษฐกิจแบบพอเพียง ” ในการทำเอกสารเล่มนี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
ในเนื้อหารายงานมีใจความสำคัญของเศรษฐกิจแบบพอเพียง เช่น การผลิตตามทฤษฎีใหม่ ประการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง มีเนื้อหาเข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ผู้จัดทำเอกสารหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่สนใจและได้อ่านเอกสารเล่มนี้จะนำหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ
20 กันยายน 2551



















สารบัญ

เรื่อง หน้า



























บรรณานุกรม

school.obec.go.th ความหมายของเศรษฐกิจ,2551.
th.wikipedia.org เศรษฐกิจพอเพียง,2551.
www.inspect9.moe.go.th ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง,2551.
www.parliament.go.th ชีวิตแบบพอเพียง,2551.
www.ipsr.mahidol.ac.th ความสุขบนความพอเพียง,2551.

คุณธรรมนำความรู้

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปีตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจละเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก ได้เป็นอย่างดี
ความเป็นมาของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง๑. ข้อเท็จจริง ๑.๑ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙) ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข สังคมมีความเข้มแข็ง และประเทศชาติมั่นคง ๑.๒ อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนและมีการตีความที่หลากหลายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อ ความคิดและเชื่อมต่อการขยายผล แนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การนำหลักปรัชญาฯไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง๑.๓ สำนักงานฯ ได้เสนอ (ร่าง) การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๔๖ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ และคณะกรรมการฯ มีมติให้ความเห็นชอบต่อ (ร่าง) ดังกล่าว ว่าเป็นเรื่องที่ดี ควรสนับสนุน โดยมีข้อเสนอแนะให้เน้นการมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม วิธีการที่หลากหลายในการสร้างความรู้ความเข้าใจ การวัดผลสำเร็จเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับเชิงปริมาณ และให้ความเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้คณะกรรมการฯ เพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนฯต่อไป๒. สาระสำคัญ๒.๑ เป้าหมาย การสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างกระแสสังคมให้มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิดหรือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ในหมู่ประชาชนทุกภาคส่วน และทุกระดับ โดยมีวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนฯ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนและทุกระดับให้สามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ใช้ในลักษณะที่สอดคล้องกับหน้าที่และบทบาทของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม และท้ายที่สุดนำไปสู่การปลูกฝังปรับเปลี่ยนจิตสำนึกและกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับระบบ และโครงสร้างการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ ยุทธวิธีในการขับเคลื่อนจะมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน
๒.๒ แผนการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น การสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ จะมีขอบเขตการดำเนินงาน ๔ แผนงาน ควบคู่กันไปดังนี้ ๒.๒.๑ แผนงานเชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างแกนกลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อทำหน้าที่ขยาย เชื่อมโยง และพัฒนาเครือข่ายแห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ร่วมกัน เพื่อให้สามารถเผยแพร่ให้ประชาชนในภาคส่วนต่างๆ นำเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ และขยายผลได้อย่างต่อเนื่อง ๒.๒.๒ แผนงานพัฒนาวิชาการและส่งเสริมการศึกษาวิจัย โดยพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นแนวทาง วิธีการ ตลอดจนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต การพัฒนาวิชาการจะเน้นการวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อให้มีแนวทางเลือกในการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ และการสร้างระบบเตือนภัยเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในสังคม ๒.๒.๓ แผนงานสร้างหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ โดยสร้างรูปแบบของกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน วิทยากรกระบวนการ ครู ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง เป็นต้น ให้มีโอกาสไตร่ตรองและเรียนรู้จากการปฏิบัติ จนสามารถตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ แล้วเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ น้อมนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป ทั้งนี้ การสร้างรูปบบกระบวนการเรียนรู้นี้ จะเน้นการร่วมคิด ร่วมทำเพื่อหารูปแบบ การหาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และเหมาะสม ตลอดจนสร้างความพร้อมของแต่ละกลุ่มเป้าหมายให้สามารถนำไปดำเนินการต่อได้เองอย่างต่อเนื่อง ๒.๒.๔ แผนงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์เพื่อสร้างกระแสสังคม โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในวงกว้าง ปลูกฝังค่านิยม และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่จะต้องมีวิธีการและรูปแบบในการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งสอดคล้องกับเนื้อหาและแนวคิดของหลักปรัชญาฯ๒.๓ กลไกการดำเนินการ การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องมีแกนกลางในการขับเคลื่อนฯ และเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ การจัดการควรจะอยู่ในรูปแบบมูลนิธิเพื่อความมีประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการระดมพลังและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน โครงสร้างการบริหารจัดการจะเป็นกลไก ๓ ระดับ ดังนี้ ระดับที่ ๑ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิเศรษฐกิจพอเพียง ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ เชิงแนวทาง และข้อพึงพิจารณาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงระดับที่ ๒ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานเครือข่ายทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติให้เกิดการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่างๆของสังคม กำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมหลักๆของการดำเนินงาน ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมภายใต้แผนงานในการสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน ระดับที่ ๓ ส่วนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งภายในสำนักงานฯ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเบื้องต้นของเครือข่าย ดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ และรับผิดชอบการดำเนินงานในภาคปฏิบัติ ตลอดจนการบริหารจัดการทั่วไป๒.๔ ระยะเวลาดำเนินการและงบประมาณการดำเนินการขับเคลื่อนฯ มีระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น ๔ ปี ๓ เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ โดยจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น ๒ ระยะ เพื่อประเมินผลการดำเนินการและปรับแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความก้าวหน้า โดยจะเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ระยะที่หนึ่ง ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครบรอบวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบ ๕๕ ปี ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร และจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานระยะที่สองเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ ๘๐ พรรษา ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ทั้งนี้ ประมาณการงบประมาณในการดำเนินงานตาม ๔ แผนงานข้างต้น ตลอดระยะเวลา ๔ ปี ๓ เดือน รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ล้านบาท ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จะเป็นการเสริมพลังในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการพึ่งตนเอง และการอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรีในเวทีโลก เพราะแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับ การเสริมสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมในระดับรากหญ้าให้เข้มแข็ง ในขณะที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้มีเสถียรภาพในระดับระหว่างประเทศ สามารถปรับตัว เลือกรับสิ่งที่เป็นประโยชน์ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ และนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในที่สุดความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีหลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาคุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนคำนิยาม ความพอเพียงคำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
ความหมายของปรัชญาความหมายของปรัชญานั้นมีอยู่มากมายหลายความหมาย ซึ่งในความหมายนั้นมีคุณค่าอยู่ในตัว หากเราเข้าใจความหมายของปรัชญาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่จะตามมาก็คือเราจะเป็นคนที่มีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แน่นอน มีความมั่นคงในชีวิต สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างคนที่คุณค่ามีศักดิ์ศรี เพราะปรัชญาเปรียบเสมือนเสาหลักในชีวิตของเราก็ว่าได้ หากเรายึดหลักทางปรัชญาชีวิตที่ดี ก็เท่ากับว่าเราประสบความสำเร็จในชีวิตไปแล้วครึ่งหนึ่ง ความหมายของปรัชญาที่สำคัญมีดังนี้ ปรัชญาเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต มี 2 คำ คือ ปร แปลว่าประเสริฐ ชญา แปลว่า ความรู้ รวมกันเป็นความรู้อันประเสริฐ เป็นความรู้อันเลอเลิศสูงสุดในระบบความรู้ของมนุษย์ ส่วนคำว่า Philosophy มีความหมายคือ ความอยากรู้ใคร่ที่จะรู้ มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาคำตอบจากประสบการณ์ว่ามันเป็นอะไรอย่างไร ความหมายโดยอรรถ ปรัชญาเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักการ หลักการคือทฤษฏี หรือเหตุผล ซึ่งเป็นหัวใจของศาสตร์ทุกแขนง หากศาสตร์ใดขาดหลักการหรือหลักปรัชญา ก็ย่อมเป็นศาสตร์ไม่ได้เพราะฉะนั้นไม่มีศาสตร์ใดจะสมบูรณ์ถ้าขาดหลักปรัชญา1 ปรัชญา หมายถึง การวิเคราะห์เชิงวิจารณ์ คือความคิดรวบยอดและสังเกตข้อแท้จริงทางประวัติศาสตร์ และประสบการณ์ เพื่อจะค้นหาสันธภาพโดยมีจุดประสงค์ที่รวมเข้าด้วยกันทำให้เป็นจุดเดียวกัน เพื่อการตีความหมายของความรู้และชีวิต2ปรัชญาเป็นระบบความคิด แม้ในชีวิตประจำวันเราก็คิด เช่น เวลานั่งคุยกับเพื่อนเก่าถึงความหลัง อดีต บ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงจึงมีมโนคติว่า ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว นี่ก็เป็นความคิดปรัชญาส่วนหนึ่งแต่ความคิดในประจำวันอาจไม่เป็นระบบหรือสมบูรณ์ แต่ความคิดคนหนึ่ง มีมากเป็นหมื่นแสนล้วนเป็นพื้นฐานอันแท้จริงของปรัชญา3สำหรับตัวของผม วิชาปรัชญาก็คือ วิชาที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นสุดยอดของวิชาที่สอนให้รู้จักรตัวเอง รู้จักรผู้อื่น ทำให้รู้ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติ ถึงแม้วิชาปรัชญาอาจจะเป็นวิชาที่ค่อนข้างยากและต้องใช้ความคิดมาก แต่ผลตอบแทนที่เราได้รับจากการเรียนวิชาปรัชญานี้ ผมคิดว่ามันคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อตัวเรามาก เพราะนั้นคือกำไรชีวิตนั่นเอง



คุณธรรม
คุณธรรมคืออะไร








การช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ และการแบ่งปัน ( หรือให้ทาน ) นั้น จัดว่าเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง และเมื่อพูดถึงคุณธรรมแล้ว เรามักนึกว่าเป็นเรื่องสมัครใจ คือทำก็ดี ไม่ทำก็ไม่เป็นไร ความคิดเช่นนี้เมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้วก็ถือว่าไม่ผิด แต่มีหลายกรณีที่เป็นข้อยกเว้น เพราะในบางสถานการณ์หรือในบางสถานะ คุณธรรมคือหน้าที่เลยทีเดียว สำหรับผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่ คุณธรรมที่มีเสียสละให้ลูกได้กินอิ่มนอนอุ่นนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่ หาใช่เรื่องความสมัครใจไม่ ในทำนองเดียวกันการทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูต่อศิษย์ ในวัฒนธรรมไทย มีหลายสถานภาพที่มาพร้อมกับหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือเจือจานผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ "ต่ำ" กว่า เช่น พี่กับน้อง ผู้ใหญ่กับผู้น้อย เจ้านายกับลูกน้อง เป็นต้น ในบางสถานการณ์ การช่วยเหลือก็ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ไม่ใช่แค่เรื่องสมัครใจเท่านั้น เช่น เมื่อเห็นคนกำลังจมน้ำ คนที่อยู่บนบกจะถือว่าธุระไม่ใช่ ช่วยก็ได้ ไม่ช่วยก็ได้ หาได้ไม่ ในยามนั้นทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือคนที่กำลังจะจมน้ำตาย ถ้าไม่ทำย่อมถูกตำหนิ ติเตียน คุณธรรมที่ถือว่าเป็นหน้าที่นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หน้าที่ทางศีลธรรม" ทุกสังคมหรือทุกวัฒนธรรมย่อมกำหนดหน้าที่ทางศีลธรรมไว้สำหรับบุคคลอย่างน้อยก็เมื่ออยู่ในบางสถานะหรือในบางสถานการณ์ หน้าที่ทางศีลธรรมต่างจากหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะไม่มีการตราเป็นข้อบังคับหรือลายลักษณ์อักษร แต่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ผู้ที่ละเมิดหรือละเลย แม้จะไม่ถูกลงโทษตามกฎหมาย แต่ก็ถูกตำหนิ ติเตียนจากสังคม หรือถึงกับไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรม
คุณธรรมนำความรู้" เอาชนะ"ความรู้คู่คุณธรรม"ได้แน่หรือ!!
หากเราสามารถนำการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาความรู้กับด้านคุณธรรม ขึ้นตราชั่งแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าตราชั่งคงจะเอียงกระเท่เร่ เพราะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นด้านความรู้ทางวิชาการนั้น จะมีน้ำหนักกว่าการสอนด้านคุณธรรมหลายเท่า ...




ก้าวไปข้างหน้าด้วย "คุณธรรมนำความรู้"
การศึกษายุคใหม่ มุ่งเน้นให้คุณธรรมนำความรู้ เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งเป็นเสียงของนักเรียนนักศึกษาที่ต้อง เคร่งเครียดกับระบบแข่งขันแก่งแย่งทุกอย่างในระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ นับตั้งแต่โรงเรียนที่เรียน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย...



ยุทธศาสตร์คุณธรรมนำความรู้
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำนโยบายและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเร่งรัดการปฏิรูปการ ศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษา ของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง...





คุณธรรมนำความรู้ สู่ความพอเพียง
คุณธรรมนำความรู้ และเศรษฐกิจพอเพียง ทางรอดของสังคมไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน ปลุกกระแสการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคมโดยชูนโยบายจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้เข้มแข็งทางจริยธรรม มีคุณธรรมนำความรู้และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตเป็นทางออกให้กับสังคมไทย เนื่องจากเป็นที่ตระหนักว่า สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการปฏิรูปการเมืองเกิดจากปัญหาความเสื่อมถอยทางคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมวิถีประชาธิปไตย ความแตกแยก การขาดความสามัคคี ขาดความสมานฉันท์ ฯลฯ สังคมทุกวงการเต็มไปด้วยคนเก่งแต่ไร้คุณธรรมมีการทุจริต คอร์รัปชั่นมากมาย บ้านเมืองเกิดวิกฤตแทบล่มสลายสังคมทุกวงการเต็มไปด้วยผู้คนที่แก่งแย่ง แข่งขันเพื่อความสุขความสำเร็จส่วนตน ขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความช่วยเหลือ......เกื้อกูลกันและเมตตาต่อกันทิ้งผู้คนรอบข้างและเพิ่มขีดการบริโภค จนกระทั่งได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ตระหนักในขณะที่คุณภาพชีวิตของผู้คนกลับอยู่ในสภาพที่ไม่ มั่นคงอ่อนไหวและเปราะบางเพราะไม่สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งไม่สามารถเป็นที่พึ่งของสังคมเช่นเดียวกัน กระบวนการเรียนรู้ที่จัดในโรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการและการให้คุณค่าต่อรางวัลความสำเร็จที่เป็นคะแนนสอบ เกรด การสอบเรียนต่อ โล่ เหรียญรางวัล ซึ่งเป็นความ สำเร็จที่จอมปลอมมากกว่าคุณภาพผู้เรียนรอบด้านที่เกิดขึ้นจริง ๆผู้เรียนเรียนรู้ที่จะรับมากกว่าให้ เรียนรู้การแข่งขันชิงความได้เปรียบเพื่อสร้างโอกาสที่ดีกว่า ให้กับตนเองทางด้านวัตถุและเงิน ทองมากกว่า การสร้างคุณค่าแห่งตนเองด้วยความดีหรือสร้างประโยชน์บ่มเพาะพัฒนาตนเพื่อสนองระบบธุรกิจทุนนิยมโดยคาดหวังตำแหน่งงานดี เงินเดือนก้อนโตมากกว่าเรียนรู้เพราะอยากรู้ มีฉันทะในการเรียนรู้หรือเรียนรู้ที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองและสร้างสรรค์สังคมให้คุณค่าของเงิน วัตถุและการบริโภคมากกว่าความจริง ความดี ความงาม เรียนรู้แบบรวบรัด แบบกวดวิชามากกว่าเรียนรู้จากการคิดปฏิบัติจริงและเชื่อมโยงกับสรรพสิ่งผู้เรียนขาดความรู้จริง ไม่สามารถคิดอย่างเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงความรู้ทุกอย่างเข้าด้วยกันได้ขาดทักษะในการทำงานและการแก้ปัญหา ( คิดไม่เป็น ทำไม่เป็น พึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งของใครไม่ได้ ) ในวโรกาสปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีพสกนิกรไทยได้พร้อมใจกันเรียนรู้ น้อมนำเอาหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ตามแนวพระราชดำรัส เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ อันจะเกิดประโยชน์สุขแก่ทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ นโยบายคุณธรรมนำความรู้ และการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติเป็นเรื่องเดียวกันที่ไม่สามารถจะคิดแยกส่วนจากกันได้การรู้จักพอเพียงเกิดขึ้นเพราะเข้าใจ หลักของธรรมชาติยอมรับในกฎของธรรมชาติ กฎแห่งไตรลักษณ์ สามารถละวางความเห็นแก่ตัวของตนเพราะรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ องค์ประกอบทุกภาคส่วนของธรรมชาติมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสียสมดุลย่อมจะส่วนอื่น ๆ หรือเกือบทุกส่วนเสียสมดุลตามไปด้วยปัญหาที่ไม่ว่าใครจะสร้างขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อทุกคนและจะย้อนกลับมามีผลร้ายต่อผู้สร้างเองจึงแสดงออกต่อ เพื่อนมนุษย์ต่อโลกได้เหมาะสม ไม่เบียดเบียนล่วงล้ำหรือสร้างความทุกข์ ความไม่สมดุลให้เกิดขึ้นกับสิ่งใด ๆไม่ว่าจะเป็นเพื่อนมนุษย์ สัตว์ พืช ดิน น้ำ ฯลฯ ความพอเพียงเป็นคุณธรรมที่น่ายกย่อง ก่อให้เกิดประโยชน์สุขทั้งส่วนตนและส่วนรวม การเสริมสร้างให้ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนให้มีคุณธรรมนำความรู้ และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติจริง นับเป็นทางออกทางเดียวของสังคมไทย ของโลก การศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติร่วมกัน พร้อมเกื้อหนุนให้นำสู่การปฏิบัติจริงในวงกว้างจะเป็นประโยชน์นับอเนกอนันต์ "เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทัน ต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้อาจจะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บ่อเกิดของความสุขนั้นอยู่ภายในตัวเรา ภายในจิตวิญญาณของเราศาสนาในโลกตะวันออก ตะวันตกจึงไม่มีเป้าหมายอย่างอื่นนอกเหนือไปจากการช่วยให้เราค้นพบความสุขที่ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกกิจกรรมใด ๆ ที่ทำด้วยความรู้สึกที่เป็นมนุษย์ด้วยความรับผิดชอบ ด้วยความเอาใจใส่ด้วยวินัย ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นย่อมเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเกี่ยงข้องกับศาสนาการเมือง ธุรกิจ กฎหมาย การแพทย์ วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในทางตรงกันข้าม หากกิจกรรมเหล่านี้กระทำไปด้วยหวังผลประโยชน์ระยะสั้นโดยเฉพาะมีเจตนาจะกอบโกยเงินทอง หรืออำนาจ กิจกรรมนั้นย่อมเป็นการงานอันไร้ค่าทะไลลามะ ผู้นำชาวธิเบตเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ มุ่งยกระดับความคิดจิตใจผู้คนให้ละวางเบาสบาย จากความโลภ ความเห็นแก่ตัวมุ่งแต่ประโยชน์สุขส่วนตนอยู่ดีมีความสุขด้วยการบริโภคให้น้อยที่สุด ซึ่งต่างจากเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมที่เชื่อว่าการเพิ่มปริมาณการบริโภคเป็นการยกระดับมาตรฐานการครองชีพ หน้าที่ของการงานมิใช่แค่เพื่อสร้างเงิน แต่มีหน้าที่อย่างน้อยสามประการ คือ 1. ให้มนุษย์ได้ใช้และพัฒนาศักยภาพของตน 2. ฝึกให้ชนะอัตตาโดยทำงานร่วมกับผู้อื่น 3. ได้สินค้าและบริการอันจำเป็น .อี เอฟ ชูมาเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์ การใช้เศรษฐกิจพอเพียงฯ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมคือต้องยืดคนเป็นศูนย์กลางต้องดูแลคน ไม่ใช่กำหนดการพัฒนาด้วยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา"เศรษฐกิจพอเพียงฯ" เป็น 1 ในหลัก 8 ประการแห่งสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันเศรษฐกิจพอเพียงฯ จะส่งผลให้มีพออยู่พอกินถ้วนหน้า พึ่งตนเองได้มีความสมดุลและเติบโตบนพื้นฐานที่แข็งแรงอย่างมีดุลยภาพและความยั่งยืนการที่สังคมจะเข้มแข็งได้ต้องสร้างเศรษฐกิจพอเพียงฯ โดยสัมมาชีพเต็มพื้นที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมต.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์"ระบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือระบบเศรษฐกิจที่เอามนุษย์เป็นตัวตั้งการเอาเงินเป็นตัวตั้งหรือทำทุกอย่างเพื่อเงินย่อมกระทบกระเทือนความเป็นมนุษย์ในทุกมิติทำให้เกิดการ กระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยและระหว่างประเทศจนกับประเทศรวยห่างมากขึ้นก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันแย่งชิงทรัพยากรอย่างขาดความ เป็นธรรมความขัดแย้งความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนสงครามและการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนรูปธรรมของระบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่สัมมาชีพหมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมมีรายได้สูงกว่ารายจ่าย ก็จะหายจนถ้วนหน้าอยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อยเป็นฐานของการพัฒนาสิ่งที่ดีงามให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเราสามารถใช้ดัชนีชี้วัดการมีสัมมาชีพเป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าในทุกชุมชน ทุกท้องถิ่น ทุกจังหวัดต้องดูแลให้ประชาชนมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ฝ่ายนโยบายต้องสนับสนุนให้เป็นไปตามนี้ไม่ว่าการจัดสรรที่ทำกิน การใช้เทคโนโลยี ทุน การสื่อสาร การศึกษาหรืออื่น ๆผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือจีดีพีที่เพิ่มไม่ได้บอกการกระจายรายได้รายได้มหึมาตกอยู่กับคนจำนวนน้อย จีดีพีก็เพิ่มขึ้นได้ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยากจน จีดีพีเพิ่มจึงไม่ได้หมายความว่าคนจนดีขึ้นเพราะจีดีพีไม่ได้เอาคนแต่เอาเงินเป็นตัวตั้งเศรษฐกิจพอเพียง คือระบบที่คำนึงถึงคนทุกคนนอกจากนั้น จีดีพีเพิ่มขึ้น ไม่ได้บอกที่มาของเงินมิจฉาอาชีวะต่างๆ ก็ทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นได้การละเมิดสิทธิสตรี สิทธิเด็ก ทำลายสิ่งแวดล้อม ก็ทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นได้จีดีพีเพิ่มจึงไม่เป็นประกันว่าศีลธรรมจะดีขึ้นแต่การมีสัมมาอาชีวะเต็มพื้นที่นั้น บอกว่าศีลธรรมดีขึ้นเพราะสัมมาอาชีวะคืออาชีพที่ไม่เบียดเบียนคนอื่นไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายกล่าวอีกนัยหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงฯ คือการพออยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกันระบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือระบบเศรษฐกิจที่เอามนุษย์เป็นตัวตั้งไม่ใช่เงินเป็นตัวตั้ง และมีรูปธรรมที่ปฏิบัติได้และวัดได้จากการส่งเสริมให้มีสัมมาชีพเต็มพื้นที่"ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมนำความรู้ และปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คุณธรรมนำความรู้ " นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลชุดนี้กำหนดไว้ชัดว่าคุณธรรมนำความรู้ แทนความรู้คู่คุณธรรม พร้อมเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี โดยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้คุณธรรมเป็นฐานจะต้องเชื่อมโยงกับ 3 สถาบัน คือครอบครัว สถานศึกษา และศาสนา หรือ "บวร" คือบ้าน วัด โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้กำหนดเป็นโครงการการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทในการศึกษาของไทย โดยมอบให้แต่ละหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพิจารณา และทบทวนสิ่งที่ทำอยู่แล้วว่ามีอะไร และมีสิ่งใหม่ที่จะเสริมเติมเต็ม โดยดึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครือข่าย รวมทั้งอาจต้องฟื้นกิจกรรมบางอย่าง เช่น กิจกรรมค่าย การบำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร เป็นต้น ในระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นที่พึ่งให้กับการศึกษาในระดับอื่นๆ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างการเสริมสร้างคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์"ที่มาของคุณธรรม ที่มาของคุณธรรมอีกส่วนหนึ่งก็มาจากโรงเรียนวิถีพุทธ อีกส่วนหนึ่งก็มาจากวัดโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึงอะไร โรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึง โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ ผ่านการกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็น มีปัญญา รู้ เข้าใจคุณค่าแท้ ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต โดยมีผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรในการพัฒนาและต้องเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด ด้วยความร่วมมือของทั้งสถานศึกษา บ้าน วัดและสถาบันต่างๆในชุมชนด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรมเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน ทั้งนี้ผู้บริหารและครูจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาโดยการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ เช่น ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข การถือศีล 5 เป็นนิจ ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ และการเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก ( ป. อ. ประยุทธ์ ปยุตโต ) ที่ว่า “ โรงเรียนวิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป ”
การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนวิถีพุทธ คือ โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา อย่างบูรณาการรูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ จุดเน้น โรงเรียนวิถีพุทธดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น ” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในทางคุณค่าแท้ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตร การพัฒนา ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธ เน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการ คือ๑. สัปปุริสสังเสวะ หมายถึงการอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีครู อาจารย์ดี มีข้อมูล มีสื่อที่ดี๒. สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตร การเรียนการสอนที่ดี ๓. โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม เป็นต้น ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต เช่น กิจกรรมประจำวัน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมนักเรียนต่าง ๆ ด้านการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา การจัดหน่วยการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จนถึงกระบวนการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ในการปฏิบัติต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน หรือครูกับครู เป็นต้น และ ด้านการบริหารจัดการ ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ จุดเน้น การกำหนดแผนปฏิบัติการ การสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งการจัดสภาพในแต่ละด้านจะมุ่งเพื่อให้การพัฒนานักเรียนตามระบบไตรสิกขาดำเนินได้อย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ ดังเช่น การจัดด้าน การจัดสภาพของโรงเรียนวิถีพุทธ ประกอบด้วย ด้านกายภาพ คือ อาคารสถานที่ กายภาพ ควรเป็นธรรมชาติ สภาพชวนให้มีจิตใจสงบ ส่งเสริมปัญญา กระตุ้นการพัฒนาศรัทธา และศีลธรรม กิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต กระตุ้นให้การกิน อยู่ ดู ฟัง ดำเนินด้วยสติสัมปชัญญะเป็นไปตามคุณค่าแท้ ด้านการเรียนการสอน บูรณาการพุทธธรรมในการจัดการเรียนรู้ชัดเจน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ เอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมทั้งวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญา เป็นต้นการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ มีขั้นตอนสำคัญ เช่น การเตรียมการ เตรียมทั้งบุคลากร ผู้เกี่ยวข้อง แผนงาน ทรัพยากร ที่มุ่งเน้นสร้างศรัทธาและฉันทะในการพัฒนา การดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบต่างๆ ที่จัดเพื่อส่งเสริม ให้เกิดความเจริญงอกงามหรือปัญญาวุฒิธรรม ในการพัฒนาผู้เรียน การดำเนินการพัฒนาทั้งผู้เรียนและบุคลากร ตามระบบไตรสิกขาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้สภาพและ องค์ประกอบที่จัดไว้ข้างต้น ขั้นต่อมา คือ การดูแลสนับสนุน ใกล้ชิด ด้วยท่าทีของความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ที่จะทำให้การพัฒนานักเรียนและงาน ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อจากนั้น มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยอิทธิบาท 4 และหลักอุปัญญาตธรรม คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรม และความไม่ระย่อในการพากเพียร เป็นต้น ขั้นสุดท้ายของกระบวนการบริหารแต่เป็นฐานสู่การพัฒนาในลำดับต่อไป คือ ขั้นประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงานลักษณะการเกื้อกูลสัมพันธ์ โรงเรียนวิถีพุทธและชุมชน จะมีลักษณะของการร่วมมือ ทั้งสถานศึกษา บ้าน วัด และสถาบันต่างๆในชุมชน ด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรม เพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน
การพัฒนาบุคลากรและคุณลักษณะบุคลากร การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธแม้จะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่บุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารและครู มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นปัจจัย ให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างดี ทั้งการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ และการเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลากหลายวิธีการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ เช่น ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข การถือศีล 5 เป็นนิจ ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ และการเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นต้น การดำเนินการในระยะแรกของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ เดือนพฤษภาคม 2546 มีโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการประมาณ 80 โรงเรียน มีทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศก้าวสู่...การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ คงยากที่จะปฏิเสธแล้วว่า ในแวดวงโรงเรียน หรือคุณครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะไม่เคยได้ยินคำว่า โรงเรียนวิถีพุทธ หากหมายรวมเลยไปถึงพระภิกษุ สามเณร พระเถรานุเถระ ล้วนเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน บทความเกี่ยวกับโรงเรียนวิถีพุทธอยู่บ้าง มีหลายท่านทราบความเป็นมาโดยตลอด หลายท่านอาจยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีอีกวาระหนึ่งที่จะสื่อสารให้ทราบกันในทุกพื้นที่ว่า หากสนใจรายละเอียดและจะร่วมโครงการต้องเริ่มต้นอย่างไร ใครจะให้คำตอบได้บ้าง ขอเริ่มต้นที่ความหมาย กล่าวคือ โรงเรียนวิถีพุทธ เป็นโรงเรียนระบบปกติทั่วไป ที่นำหลักธรรมใน พระพุทธศาสนามาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการบริหาร และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้พัฒนาการกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็น โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม แสวงปัญญาและมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิต ก้าวย่างที่งดงามของโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นอีกความหวังที่ยิ่งใหญ่ของผู้ปกครองและชุมชนในอันที่จะสานฝันให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ที่ว่า… “…..โรงเรียนวิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป

บรรณานุกรม
http://www.tanti.ac.th/Website_chon/page1.html. เศรษฐกิจพอเพียง
http://school.obec.go.th/khuntan1/bestweb/mean.htm. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
http://www.geocities.com/sarata_web/philosophy/meanings.htm. ความหมายของปรัชญา
http://www.nidtep.go.th/buddhism/origin.htm. คุณธรรมนำความรู้
http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


























คำนำ
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในกิจกรรมงานทักษะทางวิชาการนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อง คุณธรรมนำความรู้ สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยในเอกสารฉบับนี้จะประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่น่าสนใจมากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณธรรม ในเรื่องของคุณธรรมก็จะมีเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม เรื่องปรัชญา และเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจง่ายมากขึ้น
ในการจัดทำเอกสารในครั้งนี้อาจจะมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยละเอียดมากนัก แต่ผู้จัดทำก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี หากข้อความที่ได้นำเสมอไปมีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย



คณะผู้จัดทำ











คุณธรรมนำความรู้ สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง







โดย
นางสาวอรทัย บุญปัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 / 1
นางสาวประมวล ศรีสุข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ / ๑



โรงเรียนตาเบาวิทยา
ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต ๓

สารบัญ
เรื่อง หน้า
เศรษฐกิจพอเพียง- ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1- ความเป็นมาของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง 2- ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง 4- หลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5- คำนิยาม ความพอเพียง 5
- ความหมายของปรัชญา 6คุณธรรม- คุณธรรมคืออะไร 7
- แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรม 8- คุณธรรมนำความรู้ สู่ความพอเพียง 9
- ที่มาของคุณธรรม 12
บรรณานุกรม