19 กันยายน, 2551

คุณธรรมนำความรู้

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปีตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจละเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก ได้เป็นอย่างดี
ความเป็นมาของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง๑. ข้อเท็จจริง ๑.๑ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๙) ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข สังคมมีความเข้มแข็ง และประเทศชาติมั่นคง ๑.๒ อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนและมีการตีความที่หลากหลายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงเสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อ ความคิดและเชื่อมต่อการขยายผล แนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การนำหลักปรัชญาฯไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง๑.๓ สำนักงานฯ ได้เสนอ (ร่าง) การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๔๖ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ และคณะกรรมการฯ มีมติให้ความเห็นชอบต่อ (ร่าง) ดังกล่าว ว่าเป็นเรื่องที่ดี ควรสนับสนุน โดยมีข้อเสนอแนะให้เน้นการมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม วิธีการที่หลากหลายในการสร้างความรู้ความเข้าใจ การวัดผลสำเร็จเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับเชิงปริมาณ และให้ความเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้คณะกรรมการฯ เพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนฯต่อไป๒. สาระสำคัญ๒.๑ เป้าหมาย การสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างกระแสสังคมให้มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิดหรือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ในหมู่ประชาชนทุกภาคส่วน และทุกระดับ โดยมีวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนฯ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนและทุกระดับให้สามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ใช้ในลักษณะที่สอดคล้องกับหน้าที่และบทบาทของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม และท้ายที่สุดนำไปสู่การปลูกฝังปรับเปลี่ยนจิตสำนึกและกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับระบบ และโครงสร้างการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ ยุทธวิธีในการขับเคลื่อนจะมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน
๒.๒ แผนการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น การสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ จะมีขอบเขตการดำเนินงาน ๔ แผนงาน ควบคู่กันไปดังนี้ ๒.๒.๑ แผนงานเชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างแกนกลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อทำหน้าที่ขยาย เชื่อมโยง และพัฒนาเครือข่ายแห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ร่วมกัน เพื่อให้สามารถเผยแพร่ให้ประชาชนในภาคส่วนต่างๆ นำเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ และขยายผลได้อย่างต่อเนื่อง ๒.๒.๒ แผนงานพัฒนาวิชาการและส่งเสริมการศึกษาวิจัย โดยพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นแนวทาง วิธีการ ตลอดจนประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต การพัฒนาวิชาการจะเน้นการวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อให้มีแนวทางเลือกในการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ และการสร้างระบบเตือนภัยเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในสังคม ๒.๒.๓ แผนงานสร้างหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ โดยสร้างรูปแบบของกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน วิทยากรกระบวนการ ครู ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง เป็นต้น ให้มีโอกาสไตร่ตรองและเรียนรู้จากการปฏิบัติ จนสามารถตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ แล้วเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ น้อมนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป ทั้งนี้ การสร้างรูปบบกระบวนการเรียนรู้นี้ จะเน้นการร่วมคิด ร่วมทำเพื่อหารูปแบบ การหาตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และเหมาะสม ตลอดจนสร้างความพร้อมของแต่ละกลุ่มเป้าหมายให้สามารถนำไปดำเนินการต่อได้เองอย่างต่อเนื่อง ๒.๒.๔ แผนงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์เพื่อสร้างกระแสสังคม โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในวงกว้าง ปลูกฝังค่านิยม และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่จะต้องมีวิธีการและรูปแบบในการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งสอดคล้องกับเนื้อหาและแนวคิดของหลักปรัชญาฯ๒.๓ กลไกการดำเนินการ การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องมีแกนกลางในการขับเคลื่อนฯ และเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ การจัดการควรจะอยู่ในรูปแบบมูลนิธิเพื่อความมีประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการระดมพลังและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน โครงสร้างการบริหารจัดการจะเป็นกลไก ๓ ระดับ ดังนี้ ระดับที่ ๑ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิเศรษฐกิจพอเพียง ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ เชิงแนวทาง และข้อพึงพิจารณาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงระดับที่ ๒ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานเครือข่ายทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติให้เกิดการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่างๆของสังคม กำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมหลักๆของการดำเนินงาน ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมภายใต้แผนงานในการสร้างขบวนการขับเคลื่อนฯ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน ระดับที่ ๓ ส่วนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งภายในสำนักงานฯ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเบื้องต้นของเครือข่าย ดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ และรับผิดชอบการดำเนินงานในภาคปฏิบัติ ตลอดจนการบริหารจัดการทั่วไป๒.๔ ระยะเวลาดำเนินการและงบประมาณการดำเนินการขับเคลื่อนฯ มีระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น ๔ ปี ๓ เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ ถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ โดยจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น ๒ ระยะ เพื่อประเมินผลการดำเนินการและปรับแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความก้าวหน้า โดยจะเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ระยะที่หนึ่ง ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครบรอบวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบ ๕๕ ปี ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร และจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานระยะที่สองเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ ๘๐ พรรษา ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ทั้งนี้ ประมาณการงบประมาณในการดำเนินงานตาม ๔ แผนงานข้างต้น ตลอดระยะเวลา ๔ ปี ๓ เดือน รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ล้านบาท ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จะเป็นการเสริมพลังในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการพึ่งตนเอง และการอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรีในเวทีโลก เพราะแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับ การเสริมสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมในระดับรากหญ้าให้เข้มแข็ง ในขณะที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้มีเสถียรภาพในระดับระหว่างประเทศ สามารถปรับตัว เลือกรับสิ่งที่เป็นประโยชน์ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ และนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในที่สุดความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีหลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาคุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนคำนิยาม ความพอเพียงคำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
ความหมายของปรัชญาความหมายของปรัชญานั้นมีอยู่มากมายหลายความหมาย ซึ่งในความหมายนั้นมีคุณค่าอยู่ในตัว หากเราเข้าใจความหมายของปรัชญาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่จะตามมาก็คือเราจะเป็นคนที่มีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แน่นอน มีความมั่นคงในชีวิต สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างคนที่คุณค่ามีศักดิ์ศรี เพราะปรัชญาเปรียบเสมือนเสาหลักในชีวิตของเราก็ว่าได้ หากเรายึดหลักทางปรัชญาชีวิตที่ดี ก็เท่ากับว่าเราประสบความสำเร็จในชีวิตไปแล้วครึ่งหนึ่ง ความหมายของปรัชญาที่สำคัญมีดังนี้ ปรัชญาเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต มี 2 คำ คือ ปร แปลว่าประเสริฐ ชญา แปลว่า ความรู้ รวมกันเป็นความรู้อันประเสริฐ เป็นความรู้อันเลอเลิศสูงสุดในระบบความรู้ของมนุษย์ ส่วนคำว่า Philosophy มีความหมายคือ ความอยากรู้ใคร่ที่จะรู้ มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาคำตอบจากประสบการณ์ว่ามันเป็นอะไรอย่างไร ความหมายโดยอรรถ ปรัชญาเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักการ หลักการคือทฤษฏี หรือเหตุผล ซึ่งเป็นหัวใจของศาสตร์ทุกแขนง หากศาสตร์ใดขาดหลักการหรือหลักปรัชญา ก็ย่อมเป็นศาสตร์ไม่ได้เพราะฉะนั้นไม่มีศาสตร์ใดจะสมบูรณ์ถ้าขาดหลักปรัชญา1 ปรัชญา หมายถึง การวิเคราะห์เชิงวิจารณ์ คือความคิดรวบยอดและสังเกตข้อแท้จริงทางประวัติศาสตร์ และประสบการณ์ เพื่อจะค้นหาสันธภาพโดยมีจุดประสงค์ที่รวมเข้าด้วยกันทำให้เป็นจุดเดียวกัน เพื่อการตีความหมายของความรู้และชีวิต2ปรัชญาเป็นระบบความคิด แม้ในชีวิตประจำวันเราก็คิด เช่น เวลานั่งคุยกับเพื่อนเก่าถึงความหลัง อดีต บ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงจึงมีมโนคติว่า ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว นี่ก็เป็นความคิดปรัชญาส่วนหนึ่งแต่ความคิดในประจำวันอาจไม่เป็นระบบหรือสมบูรณ์ แต่ความคิดคนหนึ่ง มีมากเป็นหมื่นแสนล้วนเป็นพื้นฐานอันแท้จริงของปรัชญา3สำหรับตัวของผม วิชาปรัชญาก็คือ วิชาที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นสุดยอดของวิชาที่สอนให้รู้จักรตัวเอง รู้จักรผู้อื่น ทำให้รู้ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติ ถึงแม้วิชาปรัชญาอาจจะเป็นวิชาที่ค่อนข้างยากและต้องใช้ความคิดมาก แต่ผลตอบแทนที่เราได้รับจากการเรียนวิชาปรัชญานี้ ผมคิดว่ามันคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อตัวเรามาก เพราะนั้นคือกำไรชีวิตนั่นเอง



คุณธรรม
คุณธรรมคืออะไร








การช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ และการแบ่งปัน ( หรือให้ทาน ) นั้น จัดว่าเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง และเมื่อพูดถึงคุณธรรมแล้ว เรามักนึกว่าเป็นเรื่องสมัครใจ คือทำก็ดี ไม่ทำก็ไม่เป็นไร ความคิดเช่นนี้เมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้วก็ถือว่าไม่ผิด แต่มีหลายกรณีที่เป็นข้อยกเว้น เพราะในบางสถานการณ์หรือในบางสถานะ คุณธรรมคือหน้าที่เลยทีเดียว สำหรับผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่ คุณธรรมที่มีเสียสละให้ลูกได้กินอิ่มนอนอุ่นนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่ หาใช่เรื่องความสมัครใจไม่ ในทำนองเดียวกันการทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูต่อศิษย์ ในวัฒนธรรมไทย มีหลายสถานภาพที่มาพร้อมกับหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือเจือจานผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ "ต่ำ" กว่า เช่น พี่กับน้อง ผู้ใหญ่กับผู้น้อย เจ้านายกับลูกน้อง เป็นต้น ในบางสถานการณ์ การช่วยเหลือก็ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ไม่ใช่แค่เรื่องสมัครใจเท่านั้น เช่น เมื่อเห็นคนกำลังจมน้ำ คนที่อยู่บนบกจะถือว่าธุระไม่ใช่ ช่วยก็ได้ ไม่ช่วยก็ได้ หาได้ไม่ ในยามนั้นทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือคนที่กำลังจะจมน้ำตาย ถ้าไม่ทำย่อมถูกตำหนิ ติเตียน คุณธรรมที่ถือว่าเป็นหน้าที่นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หน้าที่ทางศีลธรรม" ทุกสังคมหรือทุกวัฒนธรรมย่อมกำหนดหน้าที่ทางศีลธรรมไว้สำหรับบุคคลอย่างน้อยก็เมื่ออยู่ในบางสถานะหรือในบางสถานการณ์ หน้าที่ทางศีลธรรมต่างจากหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะไม่มีการตราเป็นข้อบังคับหรือลายลักษณ์อักษร แต่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ผู้ที่ละเมิดหรือละเลย แม้จะไม่ถูกลงโทษตามกฎหมาย แต่ก็ถูกตำหนิ ติเตียนจากสังคม หรือถึงกับไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรม
คุณธรรมนำความรู้" เอาชนะ"ความรู้คู่คุณธรรม"ได้แน่หรือ!!
หากเราสามารถนำการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาความรู้กับด้านคุณธรรม ขึ้นตราชั่งแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าตราชั่งคงจะเอียงกระเท่เร่ เพราะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นด้านความรู้ทางวิชาการนั้น จะมีน้ำหนักกว่าการสอนด้านคุณธรรมหลายเท่า ...




ก้าวไปข้างหน้าด้วย "คุณธรรมนำความรู้"
การศึกษายุคใหม่ มุ่งเน้นให้คุณธรรมนำความรู้ เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งเป็นเสียงของนักเรียนนักศึกษาที่ต้อง เคร่งเครียดกับระบบแข่งขันแก่งแย่งทุกอย่างในระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ นับตั้งแต่โรงเรียนที่เรียน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย...



ยุทธศาสตร์คุณธรรมนำความรู้
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำนโยบายและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเร่งรัดการปฏิรูปการ ศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษา ของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง...





คุณธรรมนำความรู้ สู่ความพอเพียง
คุณธรรมนำความรู้ และเศรษฐกิจพอเพียง ทางรอดของสังคมไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน ปลุกกระแสการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคมโดยชูนโยบายจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้เข้มแข็งทางจริยธรรม มีคุณธรรมนำความรู้และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตเป็นทางออกให้กับสังคมไทย เนื่องจากเป็นที่ตระหนักว่า สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการปฏิรูปการเมืองเกิดจากปัญหาความเสื่อมถอยทางคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมวิถีประชาธิปไตย ความแตกแยก การขาดความสามัคคี ขาดความสมานฉันท์ ฯลฯ สังคมทุกวงการเต็มไปด้วยคนเก่งแต่ไร้คุณธรรมมีการทุจริต คอร์รัปชั่นมากมาย บ้านเมืองเกิดวิกฤตแทบล่มสลายสังคมทุกวงการเต็มไปด้วยผู้คนที่แก่งแย่ง แข่งขันเพื่อความสุขความสำเร็จส่วนตน ขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความช่วยเหลือ......เกื้อกูลกันและเมตตาต่อกันทิ้งผู้คนรอบข้างและเพิ่มขีดการบริโภค จนกระทั่งได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ตระหนักในขณะที่คุณภาพชีวิตของผู้คนกลับอยู่ในสภาพที่ไม่ มั่นคงอ่อนไหวและเปราะบางเพราะไม่สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งไม่สามารถเป็นที่พึ่งของสังคมเช่นเดียวกัน กระบวนการเรียนรู้ที่จัดในโรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการและการให้คุณค่าต่อรางวัลความสำเร็จที่เป็นคะแนนสอบ เกรด การสอบเรียนต่อ โล่ เหรียญรางวัล ซึ่งเป็นความ สำเร็จที่จอมปลอมมากกว่าคุณภาพผู้เรียนรอบด้านที่เกิดขึ้นจริง ๆผู้เรียนเรียนรู้ที่จะรับมากกว่าให้ เรียนรู้การแข่งขันชิงความได้เปรียบเพื่อสร้างโอกาสที่ดีกว่า ให้กับตนเองทางด้านวัตถุและเงิน ทองมากกว่า การสร้างคุณค่าแห่งตนเองด้วยความดีหรือสร้างประโยชน์บ่มเพาะพัฒนาตนเพื่อสนองระบบธุรกิจทุนนิยมโดยคาดหวังตำแหน่งงานดี เงินเดือนก้อนโตมากกว่าเรียนรู้เพราะอยากรู้ มีฉันทะในการเรียนรู้หรือเรียนรู้ที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองและสร้างสรรค์สังคมให้คุณค่าของเงิน วัตถุและการบริโภคมากกว่าความจริง ความดี ความงาม เรียนรู้แบบรวบรัด แบบกวดวิชามากกว่าเรียนรู้จากการคิดปฏิบัติจริงและเชื่อมโยงกับสรรพสิ่งผู้เรียนขาดความรู้จริง ไม่สามารถคิดอย่างเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงความรู้ทุกอย่างเข้าด้วยกันได้ขาดทักษะในการทำงานและการแก้ปัญหา ( คิดไม่เป็น ทำไม่เป็น พึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งของใครไม่ได้ ) ในวโรกาสปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีพสกนิกรไทยได้พร้อมใจกันเรียนรู้ น้อมนำเอาหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ตามแนวพระราชดำรัส เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ อันจะเกิดประโยชน์สุขแก่ทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ นโยบายคุณธรรมนำความรู้ และการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติเป็นเรื่องเดียวกันที่ไม่สามารถจะคิดแยกส่วนจากกันได้การรู้จักพอเพียงเกิดขึ้นเพราะเข้าใจ หลักของธรรมชาติยอมรับในกฎของธรรมชาติ กฎแห่งไตรลักษณ์ สามารถละวางความเห็นแก่ตัวของตนเพราะรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ องค์ประกอบทุกภาคส่วนของธรรมชาติมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสียสมดุลย่อมจะส่วนอื่น ๆ หรือเกือบทุกส่วนเสียสมดุลตามไปด้วยปัญหาที่ไม่ว่าใครจะสร้างขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อทุกคนและจะย้อนกลับมามีผลร้ายต่อผู้สร้างเองจึงแสดงออกต่อ เพื่อนมนุษย์ต่อโลกได้เหมาะสม ไม่เบียดเบียนล่วงล้ำหรือสร้างความทุกข์ ความไม่สมดุลให้เกิดขึ้นกับสิ่งใด ๆไม่ว่าจะเป็นเพื่อนมนุษย์ สัตว์ พืช ดิน น้ำ ฯลฯ ความพอเพียงเป็นคุณธรรมที่น่ายกย่อง ก่อให้เกิดประโยชน์สุขทั้งส่วนตนและส่วนรวม การเสริมสร้างให้ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนให้มีคุณธรรมนำความรู้ และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติจริง นับเป็นทางออกทางเดียวของสังคมไทย ของโลก การศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติร่วมกัน พร้อมเกื้อหนุนให้นำสู่การปฏิบัติจริงในวงกว้างจะเป็นประโยชน์นับอเนกอนันต์ "เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทัน ต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้อาจจะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บ่อเกิดของความสุขนั้นอยู่ภายในตัวเรา ภายในจิตวิญญาณของเราศาสนาในโลกตะวันออก ตะวันตกจึงไม่มีเป้าหมายอย่างอื่นนอกเหนือไปจากการช่วยให้เราค้นพบความสุขที่ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกกิจกรรมใด ๆ ที่ทำด้วยความรู้สึกที่เป็นมนุษย์ด้วยความรับผิดชอบ ด้วยความเอาใจใส่ด้วยวินัย ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นย่อมเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเกี่ยงข้องกับศาสนาการเมือง ธุรกิจ กฎหมาย การแพทย์ วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในทางตรงกันข้าม หากกิจกรรมเหล่านี้กระทำไปด้วยหวังผลประโยชน์ระยะสั้นโดยเฉพาะมีเจตนาจะกอบโกยเงินทอง หรืออำนาจ กิจกรรมนั้นย่อมเป็นการงานอันไร้ค่าทะไลลามะ ผู้นำชาวธิเบตเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ มุ่งยกระดับความคิดจิตใจผู้คนให้ละวางเบาสบาย จากความโลภ ความเห็นแก่ตัวมุ่งแต่ประโยชน์สุขส่วนตนอยู่ดีมีความสุขด้วยการบริโภคให้น้อยที่สุด ซึ่งต่างจากเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมที่เชื่อว่าการเพิ่มปริมาณการบริโภคเป็นการยกระดับมาตรฐานการครองชีพ หน้าที่ของการงานมิใช่แค่เพื่อสร้างเงิน แต่มีหน้าที่อย่างน้อยสามประการ คือ 1. ให้มนุษย์ได้ใช้และพัฒนาศักยภาพของตน 2. ฝึกให้ชนะอัตตาโดยทำงานร่วมกับผู้อื่น 3. ได้สินค้าและบริการอันจำเป็น .อี เอฟ ชูมาเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์ การใช้เศรษฐกิจพอเพียงฯ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมคือต้องยืดคนเป็นศูนย์กลางต้องดูแลคน ไม่ใช่กำหนดการพัฒนาด้วยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา"เศรษฐกิจพอเพียงฯ" เป็น 1 ในหลัก 8 ประการแห่งสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันเศรษฐกิจพอเพียงฯ จะส่งผลให้มีพออยู่พอกินถ้วนหน้า พึ่งตนเองได้มีความสมดุลและเติบโตบนพื้นฐานที่แข็งแรงอย่างมีดุลยภาพและความยั่งยืนการที่สังคมจะเข้มแข็งได้ต้องสร้างเศรษฐกิจพอเพียงฯ โดยสัมมาชีพเต็มพื้นที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมต.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์"ระบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือระบบเศรษฐกิจที่เอามนุษย์เป็นตัวตั้งการเอาเงินเป็นตัวตั้งหรือทำทุกอย่างเพื่อเงินย่อมกระทบกระเทือนความเป็นมนุษย์ในทุกมิติทำให้เกิดการ กระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยและระหว่างประเทศจนกับประเทศรวยห่างมากขึ้นก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันแย่งชิงทรัพยากรอย่างขาดความ เป็นธรรมความขัดแย้งความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนสงครามและการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนรูปธรรมของระบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่สัมมาชีพหมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมมีรายได้สูงกว่ารายจ่าย ก็จะหายจนถ้วนหน้าอยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อยเป็นฐานของการพัฒนาสิ่งที่ดีงามให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเราสามารถใช้ดัชนีชี้วัดการมีสัมมาชีพเป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าในทุกชุมชน ทุกท้องถิ่น ทุกจังหวัดต้องดูแลให้ประชาชนมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ฝ่ายนโยบายต้องสนับสนุนให้เป็นไปตามนี้ไม่ว่าการจัดสรรที่ทำกิน การใช้เทคโนโลยี ทุน การสื่อสาร การศึกษาหรืออื่น ๆผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือจีดีพีที่เพิ่มไม่ได้บอกการกระจายรายได้รายได้มหึมาตกอยู่กับคนจำนวนน้อย จีดีพีก็เพิ่มขึ้นได้ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยากจน จีดีพีเพิ่มจึงไม่ได้หมายความว่าคนจนดีขึ้นเพราะจีดีพีไม่ได้เอาคนแต่เอาเงินเป็นตัวตั้งเศรษฐกิจพอเพียง คือระบบที่คำนึงถึงคนทุกคนนอกจากนั้น จีดีพีเพิ่มขึ้น ไม่ได้บอกที่มาของเงินมิจฉาอาชีวะต่างๆ ก็ทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นได้การละเมิดสิทธิสตรี สิทธิเด็ก ทำลายสิ่งแวดล้อม ก็ทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นได้จีดีพีเพิ่มจึงไม่เป็นประกันว่าศีลธรรมจะดีขึ้นแต่การมีสัมมาอาชีวะเต็มพื้นที่นั้น บอกว่าศีลธรรมดีขึ้นเพราะสัมมาอาชีวะคืออาชีพที่ไม่เบียดเบียนคนอื่นไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายกล่าวอีกนัยหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงฯ คือการพออยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกันระบบเศรษฐกิจพอเพียงฯ คือระบบเศรษฐกิจที่เอามนุษย์เป็นตัวตั้งไม่ใช่เงินเป็นตัวตั้ง และมีรูปธรรมที่ปฏิบัติได้และวัดได้จากการส่งเสริมให้มีสัมมาชีพเต็มพื้นที่"ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี แนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมนำความรู้ และปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คุณธรรมนำความรู้ " นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลชุดนี้กำหนดไว้ชัดว่าคุณธรรมนำความรู้ แทนความรู้คู่คุณธรรม พร้อมเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี โดยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้คุณธรรมเป็นฐานจะต้องเชื่อมโยงกับ 3 สถาบัน คือครอบครัว สถานศึกษา และศาสนา หรือ "บวร" คือบ้าน วัด โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้กำหนดเป็นโครงการการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทในการศึกษาของไทย โดยมอบให้แต่ละหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพิจารณา และทบทวนสิ่งที่ทำอยู่แล้วว่ามีอะไร และมีสิ่งใหม่ที่จะเสริมเติมเต็ม โดยดึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครือข่าย รวมทั้งอาจต้องฟื้นกิจกรรมบางอย่าง เช่น กิจกรรมค่าย การบำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร เป็นต้น ในระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นที่พึ่งให้กับการศึกษาในระดับอื่นๆ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างการเสริมสร้างคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์"ที่มาของคุณธรรม ที่มาของคุณธรรมอีกส่วนหนึ่งก็มาจากโรงเรียนวิถีพุทธ อีกส่วนหนึ่งก็มาจากวัดโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึงอะไร โรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึง โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ ผ่านการกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็น มีปัญญา รู้ เข้าใจคุณค่าแท้ ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต โดยมีผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรในการพัฒนาและต้องเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด ด้วยความร่วมมือของทั้งสถานศึกษา บ้าน วัดและสถาบันต่างๆในชุมชนด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรมเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน ทั้งนี้ผู้บริหารและครูจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาโดยการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ เช่น ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข การถือศีล 5 เป็นนิจ ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ และการเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก ( ป. อ. ประยุทธ์ ปยุตโต ) ที่ว่า “ โรงเรียนวิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป ”
การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนวิถีพุทธ คือ โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา อย่างบูรณาการรูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ จุดเน้น โรงเรียนวิถีพุทธดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น ” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในทางคุณค่าแท้ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตร การพัฒนา ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธ เน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการ คือ๑. สัปปุริสสังเสวะ หมายถึงการอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีครู อาจารย์ดี มีข้อมูล มีสื่อที่ดี๒. สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตร การเรียนการสอนที่ดี ๓. โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม เป็นต้น ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต เช่น กิจกรรมประจำวัน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมนักเรียนต่าง ๆ ด้านการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา การจัดหน่วยการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จนถึงกระบวนการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ในการปฏิบัติต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน หรือครูกับครู เป็นต้น และ ด้านการบริหารจัดการ ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ จุดเน้น การกำหนดแผนปฏิบัติการ การสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งการจัดสภาพในแต่ละด้านจะมุ่งเพื่อให้การพัฒนานักเรียนตามระบบไตรสิกขาดำเนินได้อย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ ดังเช่น การจัดด้าน การจัดสภาพของโรงเรียนวิถีพุทธ ประกอบด้วย ด้านกายภาพ คือ อาคารสถานที่ กายภาพ ควรเป็นธรรมชาติ สภาพชวนให้มีจิตใจสงบ ส่งเสริมปัญญา กระตุ้นการพัฒนาศรัทธา และศีลธรรม กิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต กระตุ้นให้การกิน อยู่ ดู ฟัง ดำเนินด้วยสติสัมปชัญญะเป็นไปตามคุณค่าแท้ ด้านการเรียนการสอน บูรณาการพุทธธรรมในการจัดการเรียนรู้ชัดเจน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ เอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมทั้งวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญา เป็นต้นการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ มีขั้นตอนสำคัญ เช่น การเตรียมการ เตรียมทั้งบุคลากร ผู้เกี่ยวข้อง แผนงาน ทรัพยากร ที่มุ่งเน้นสร้างศรัทธาและฉันทะในการพัฒนา การดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบต่างๆ ที่จัดเพื่อส่งเสริม ให้เกิดความเจริญงอกงามหรือปัญญาวุฒิธรรม ในการพัฒนาผู้เรียน การดำเนินการพัฒนาทั้งผู้เรียนและบุคลากร ตามระบบไตรสิกขาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้สภาพและ องค์ประกอบที่จัดไว้ข้างต้น ขั้นต่อมา คือ การดูแลสนับสนุน ใกล้ชิด ด้วยท่าทีของความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ที่จะทำให้การพัฒนานักเรียนและงาน ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อจากนั้น มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยอิทธิบาท 4 และหลักอุปัญญาตธรรม คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรม และความไม่ระย่อในการพากเพียร เป็นต้น ขั้นสุดท้ายของกระบวนการบริหารแต่เป็นฐานสู่การพัฒนาในลำดับต่อไป คือ ขั้นประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินงานลักษณะการเกื้อกูลสัมพันธ์ โรงเรียนวิถีพุทธและชุมชน จะมีลักษณะของการร่วมมือ ทั้งสถานศึกษา บ้าน วัด และสถาบันต่างๆในชุมชน ด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรม เพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน
การพัฒนาบุคลากรและคุณลักษณะบุคลากร การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธแม้จะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่บุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารและครู มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นปัจจัย ให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างดี ทั้งการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ และการเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลากหลายวิธีการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ เช่น ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข การถือศีล 5 เป็นนิจ ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ และการเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นต้น การดำเนินการในระยะแรกของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ เดือนพฤษภาคม 2546 มีโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการประมาณ 80 โรงเรียน มีทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศก้าวสู่...การพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ คงยากที่จะปฏิเสธแล้วว่า ในแวดวงโรงเรียน หรือคุณครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะไม่เคยได้ยินคำว่า โรงเรียนวิถีพุทธ หากหมายรวมเลยไปถึงพระภิกษุ สามเณร พระเถรานุเถระ ล้วนเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน บทความเกี่ยวกับโรงเรียนวิถีพุทธอยู่บ้าง มีหลายท่านทราบความเป็นมาโดยตลอด หลายท่านอาจยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีอีกวาระหนึ่งที่จะสื่อสารให้ทราบกันในทุกพื้นที่ว่า หากสนใจรายละเอียดและจะร่วมโครงการต้องเริ่มต้นอย่างไร ใครจะให้คำตอบได้บ้าง ขอเริ่มต้นที่ความหมาย กล่าวคือ โรงเรียนวิถีพุทธ เป็นโรงเรียนระบบปกติทั่วไป ที่นำหลักธรรมใน พระพุทธศาสนามาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการบริหาร และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้พัฒนาการกิน อยู่ ดู ฟัง ให้เป็น โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม แสวงปัญญาและมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิต ก้าวย่างที่งดงามของโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นอีกความหวังที่ยิ่งใหญ่ของผู้ปกครองและชุมชนในอันที่จะสานฝันให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ที่ว่า… “…..โรงเรียนวิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป

บรรณานุกรม
http://www.tanti.ac.th/Website_chon/page1.html. เศรษฐกิจพอเพียง
http://school.obec.go.th/khuntan1/bestweb/mean.htm. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
http://www.geocities.com/sarata_web/philosophy/meanings.htm. ความหมายของปรัชญา
http://www.nidtep.go.th/buddhism/origin.htm. คุณธรรมนำความรู้
http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


























คำนำ
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในกิจกรรมงานทักษะทางวิชาการนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อง คุณธรรมนำความรู้ สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยในเอกสารฉบับนี้จะประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่น่าสนใจมากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณธรรม ในเรื่องของคุณธรรมก็จะมีเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม เรื่องปรัชญา และเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจง่ายมากขึ้น
ในการจัดทำเอกสารในครั้งนี้อาจจะมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยละเอียดมากนัก แต่ผู้จัดทำก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี หากข้อความที่ได้นำเสมอไปมีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย



คณะผู้จัดทำ











คุณธรรมนำความรู้ สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง







โดย
นางสาวอรทัย บุญปัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 / 1
นางสาวประมวล ศรีสุข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ / ๑



โรงเรียนตาเบาวิทยา
ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต ๓

สารบัญ
เรื่อง หน้า
เศรษฐกิจพอเพียง- ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1- ความเป็นมาของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง 2- ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง 4- หลักพิจารณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5- คำนิยาม ความพอเพียง 5
- ความหมายของปรัชญา 6คุณธรรม- คุณธรรมคืออะไร 7
- แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรม 8- คุณธรรมนำความรู้ สู่ความพอเพียง 9
- ที่มาของคุณธรรม 12
บรรณานุกรม

ไม่มีความคิดเห็น: