19 กันยายน, 2551

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1
เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร

“ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” (เกษม วัฒนชัย,2548,หน้า 16-17)
ถอดสาระจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. แนวคิดหลัก “แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัฒน์” (การสร้างขบวนการขับเคลื่อน…เศรษฐกิจพอเพียง หน้า 13)
2. วิเคราะห์สาระของหลักคิด
1) แกนของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงอยู่และการปฏิบัติตนตามทางสายกลาง
2) ผู้ที่ต้องปฏิบัติ คือ ประชาชนในชาติทุกระดับ หน่วยทางสังคม คือ
- ระดับครอบครัว
- ระดับชุมชน และ
- ระดับรัฐ
นั่นหมายความว่า บุคคลและองค์กรทางสังคมทั้งภาครัฐและภาคประชาชนทุกภาคส่วน ทุกหน่วยระดับจะต้องดำรงอยู่และปฏิบัติตนตามทางสายกลาง

2
3) ยิ่งเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ จะต้องเน้นเป็นพิเศษ คือ ต้องนำเอาหลักปฏิบัติปรัชญา “ทางสกกลาง” นี้มาใช้ เป็นฐานคิด ฐานทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของทุกองค์กร และทุกระดับ

3. ทางสายกลางคืออะไร และอย่างไร? คือ ทางชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง ตามกฎธรรมชาติ ที่มีอยู่ เป็นอยู่ ทั้งที่ตัวมนุษย์ และรอบ ๆ ตัวมนุษย์กฎธรรมชาติที่เป็นอยู่คืออะไร
คือ กฎแห่งความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทนอยู่นานตลอดไปตามความต้องการของมนุษย์ไม่ได้ และหาตัวตนที่แน่นอนไม่ได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามปัจจัยที่มีอยู่มนุษย์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และต้องอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ จะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะถูกต้อง พอดี มีความศานติสุขได้จะต้องปฏิบัติตนดำรงตนตามกฎธรรมชาติไม่ฝืนกฎ ไม่ฉีกกฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เข้าใครออกใครแต่เป็นกลางเสมอกฎธรรมชาติที่ไม่เข้าใครออกใครนี้ ภาษาธรรม ท่านเรียกว่า มัชเฌนธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นกลาง หรือ หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ (พระธรรมปิฎก ประยุทธ ปยุตฺโต,257)
4. มนุษย์ / สังคมมนุษย์จะเดิน/ปฏิบัติตามทางสายกลาง หรือ หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ ได้อย่างไร จะปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ ได้เข้าถึงธรรม คือ ความจริงนั้น จึงจะปฏิบัติให้สอดคล้อง ถูกต้องได้ที่ว่า ได้เรียนรู้ได้เข้าใจ ได้เข้าถึง และได้ปฏิบัติตามนั้นอย่างไร ?คือ ได้ฝึกจิต ฝึกความคิด ความเห็นของตนให้คิดถูก เห็นถูก ตามความเป็นจริง หรือตามกฎธรรมชาติที่ว่านั้น เรียกในภาษาธรรมว่า ปัญญาสิกขา คือ การฝึกอบรมจิตจนเกิดปัญญาแสงสว่างคือ ได้ฝึกจิตให้เกิดความเพียรพยายาม ให้แน่วแน่ มั่นคง ไม่วอกแวกโลเล มีสติคอยกำกับ เพื่อให้เป็นปัจจัยเกิดปัญญา หรือ แสงสว่างขึ้นในจิต ภาษาธรรมเรียกว่า จิตสิกขา คือ การฝึกฝนจิตให้เกิดความสงบแน่วแน่ มั่นคงคือ ได้ฝึกกาย ฝึกวาจา ให้ทำให้พูด ในสิ่งที่มีสาระเป็นจริง ไม่เป็นพิษภัยกับตนเองและผู้อื่น ไม่สร้างไม่เสพสิ่งที่ก่อปัญหาแก่กายใจตนเอง และผู้อื่นและสิ่งอื่น มุ่งพากายใจเข้าสู่ความสงบเย็น เพื่อเกิดแสงสว่าง คือ ปัญญาต่อไป ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ศีลสิกขา คือ การฝึกกายวาจาให้สะอาดหมดจดในทางปฏิบัติจะต้องทำให้ครบวงจร และขับเคลื่อนหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความก้าวหน้า และเข้าถึงความจริงได้ตามลำดับ และตามศักยภาพของผู้ฝึก ผู้ศึกษานี้คือ คำอธิบาย เรื่องทางสายกลาง พอสังเขปที่ปราชญ์ทั้งหลายเขาอธิบายไว้คนใด ครอบครัวใด ชุมชนใด รัฐใด เดินตามทางสายกลางที่ว่านี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


3

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517[1] และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[2] ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ "กษัตริย์นักพัฒนา" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ[3] และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชนอย่าง ประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก, อภิชัย พันธเสน และ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคม[3]
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) [2][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542







4



รูปที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

5
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตแนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
"ทำความดี"ตามรอย"พ่อหลวง"ต้นแบบการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง


รูปที่ 2 ภาพการทำดีตามรอยพ่อ
นับเป็นปีมหามงคลอันยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดินในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ด้วยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พสกนิกรเห็นถึงการทรงงานหนัก จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ ขณะเดียวกันก็ได้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ อาทิ ทรงพระปรีชาสามารถโดดเด่นด้านภาษาและวรรณกรรม ทรงเป็นนักแต่งเพลง นักดนตรีและผู้เรียบเรียงทำนอง ทั้งยังทรงสนพระทัยงานศิลปะต่างๆ ฯลฯ พระอัจฉริยภาพด้าน
6
ต่างๆ นี้เอง ได้เป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนดำเนินรอยตาม รวมไปถึงคนในวงการบันเทิงก็เห็นพ้องต้องกันว่า พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุด นักร้องชื่อดัง "นัท" มีเรีย เบเนเดตตี้ กล่าวว่า ทุกวันนี้ได้ดำเนินชีวิตตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยการอยู่อย่างพอเพียง "สิ่งที่ดำเนินตามในหลวงคือการอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือง ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดน้ำ หรือจะเป็นเรื่องเงินทอง พลังงาน อีกสิ่งหนึ่งก็คือพระเองค์ท่านทรงใช้ชีวิตอย่างสมถะ ซึ่งนัทก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอย่างสมถะ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ไม่ใช้ เราไม่ควรที่จะฟุ้งเฟ้อกับอะไรเหล่านี้" นักร้อง-นักแสดงสาวกล่าว ทางด้านนางเอกชื่อดัง "หน่อย" บุษกร พรวรรณะศิริเวช กล่าวว่า พยายามทำตามพระราชดำรัสในเรื่องอยู่อย่างพอเพียง เช่นกัน "สิ่งที่หน่อยดำเนินตามรอยในหลวง คือพระราชดำรัสที่ว่าอยู่อย่างพอเพียง รู้จักประหยัด คือพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี อยู่อย่างพอเพียงทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การใช้ชีวิต ไม่ต้องขวนขวายในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ อย่างหน่อยไม่ต้องการเป็นผู้บริหารใหญ่โต หรือว่าเป็นเจ้าของรายการ คือเราทำตามความสามารถ อยู่อย่างพอเพียงในระดับหนึ่งก็มีความสุขแล้ว ไม่ต้องแข่งขันอะไรกับใคร ไม่ใช่ว่าไม่มีเงินแล้วจะเป็นคนไม่เก่ง อย่างที่บอกว่าในหลวงของเราทรงสอนและให้อะไรกับเราหลายอย่าง หน่อยเองก็ประทับใจในทุกๆ เรื่องของท่าน ยิ่งดูพระราชประวัติ เราซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของท่าน ยิ่งอ่านในหนังสือของท่านที่เล่าถึงเรื่องของสมเด็จย่า ท่านรักแม่ แล้วบางเรื่องเราอ่านยังน้ำตาไหล หรืออย่างเรื่องที่ในหลวงของเราทำให้ประเทศชาติ คงไม่มีชาติใดทำให้ได้ขนาดนี้" หน่อย กล่าว "โก้" เศกพล อุ่นสำราญ หรือ "โก้ มิสเตอร์แซกแมน" ศิลปินผู้รักการเป่าแซ็ก เป็นคนหนึ่ง ที่ยึดแนวทางการเป็นศิลปินที่ดีจากในหลวง ซึ่งทรงดนตรีด้วยใจจริงๆ "ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้ยินเสมอมาว่า พระองค์ท่านทรงดนตรีอย่างไม่เคยเหน็ดเหนื่อย คนบอกว่าท่านทรงดนตรีทั้งคืนด้วยความจริงจัง ด้วยใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ตัวผมเองน้อมรับเอามาเป็นแบบอย่างเสมอ รวมถึงยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า ในขณะที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เอาเรื่องดนตรีมาพูดเป็นตัวเงิน แต่เมื่อไรที่ผมนึกถึงพระองค์ท่าน ซึ่งทรงดนตรีด้วยใจ เรื่องการคิดถึงตัวเงินก็จะลบไปจากหัวของผมทันที ผมคิดเสมอว่าอยากจะเล่นดนตรีให้ดีที่สุด สิ่งใดที่ทำให้ดนตรีก้าวหน้าไปได้ ก็จะทำ เพื่อให้วงการดนตรีไทยดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ" นักดนตรีชื่อดัง กล่าว ด้าน จิรพรรณ อังศวานนท์ นักดนตรีชั้นแนวหน้าของเมืองไทย กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ถึงแม้ในหลวงท่านจะมีพระราชกรณียกิจมากมาย แต่พระองค์ยังทรงดนตรีอยู่เสมอๆ "มีคนกล่าวไว้ว่า ถ้าในหลวงเป็นคนธรรมดา คงจะทรงเป็นนักดนตรีระดับโลก ระดับนานาชาติไปแล้ว ที่ผ่านมาเรารู้กันดีอยู่แล้วว่า พระปรีชาสามารถของพระองค์ทรงมีอย่างกว้างขวาง ท่านทรงดูแลประชากร 60 ล้านคนในทุกๆ เรื่อง สิ่งที่ผมรับมาตลอดและดำเนินรอยตาม คือความเรียบง่ายของพระองค์ พี่ชายสองคนของผมเล่นดนตรีรับใช้พระองค์อยู่ในวัง ผมเลยมีโอกาสได้ยินเรื่องในวังบ่อยๆ ผมรู้มาว่าท่านทรงใส่เสื้อขาดก็ได้ แม้กระทั่งวิธีการใช้ยาสีฟัน ท่านก็ทรงใช้อย่างคุ้มค่ามาก
7
มันเหมือนเป็นการสอนพวกเราว่า ท่านทรงประหยัดและติดดิน ทำให้ผมน้อมรับสิ่งนี้และดำเนินรอยตามพระองค์ท่านมาเสมอ" จิรพรรณ กล่าว ส่วน "นีน่า" กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ ผู้ดำเนินรายการคนดังจากรายการ "ผู้หญิงถึงผู้หญิง" ก็เห็นด้วยว่าพ่อหลวงของเรา ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถครบในทุกๆ ด้าน ทั้งศิลปะ ดนตรี การเมือง การเกษตร กีฬา ถ้าจะให้เธอตามรอยพระองค์ท่านคงยาก "แต่ถึงอย่างนั้น น่าว่าก็ยังมีอีกหลายอย่างที่เราสามารถเอาแบบอย่างจากท่านได้ คือการประหยัด อย่างที่เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า แม้พระองค์ท่านจะเป็นถึงพระเจ้าแผ่นดิน แต่ยังทรงใช้ยาสีฟันจนหมดหลอด ใช้ของไม่ฟุ้งเฟ้อ โปรดที่จะมีชีวิตอย่างเรียบง่าย ทรงใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมากๆ ท่านทรงสนใจสิ่งรอบตัว เป็นนักอ่านตัวยง ซึ่งถือว่าสำคัญมาก เพราะคนเราจะเก่ง ฉลาด ต้องขยันอ่านในทุกๆ เรื่อง ถ้าน่าจะตามรอยท่าน น่าก็ขอตามรอยในสิ่งที่สามารถทำได้ ซึ่งคือการประหยัด รักการอ่าน เชื่อในความดี พระองค์ท่านถือว่าเป็นตัวอย่าง ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี แถมยังสอนให้คนไทยใจกว้าง ทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าใครสามารถทำตามท่านได้ ก็ถือว่าที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือท่านทรงเป็นนักประชาธิปไตยตัวยง เป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง แม้ท่านจะเป็นพระมหากษัตริย์ แต่ท่านก็ไม่เคยสั่งการหรือทำสิ่งใดที่เป็นการละเมิดกฎหมาย น่าอยากจะเป็นประชาชนที่อยู่ในประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่ดี และอยากชวนให้คนอื่น ช่วยกันยึดถือระบอบประชาธิปไตยเพื่อถวายท่านด้วย และในโอกาสนี้ก็อยากจะถือโอกาสขอถวายพระพรให้พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน" ด้านผู้ประกาศข่าวสาวชื่อดังของช่อง 3 มีสุข แจ้งมีสุข กล่าวว่า เพียงแค่ได้ฟังเพลง "พลังแผ่นดิน" และได้เห็นพระองค์ท่านมีพระราชกรณียกิจมากมาย ก็ทำให้เธอตั้งปณิธานว่าจะทำความดี "ช่วงที่ผ่านมา ไก่ได้เห็นข้อมูลจากที่ต่างๆ ว่าท่านเสียสละเพื่อชาวไทยมาก ก็รู้สึกว่าทำไมเราถึงมีพระมหากษัตริย์ดีขนาดนี้ ในเมื่อท่านยังเป็นแบบอย่างได้เลย ท่านอยู่ในจุดสูงที่สุด จะสามารถอยู่สบายเฉยๆ ก็ได้ แต่ท่านยังเสียสละ ทำไมเราถึงไม่เอาอย่างท่าน ไก่เลยตั้งมั่นอย่างที่สุดว่าไม่ว่าจะทำงานอะไร จะทำอย่างอดทน หรืออย่างน้อยก็จะทำความดี ไม่สร้างปัญหาที่ทำให้พระองค์ท่านไม่สบายพระทัย ไก่ว่าถ้าเพียงแต่ประชาชนคนไทยคิดแบบนี้ 60 ล้านคน ก็ได้ 60 ล้านความดีแล้ว" ด้าน "นีโน่" เมทนี บุรณศิริ กล่าวว่า ชอบระบบการวางรากฐาน การวางแผนการล่วงหน้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงวางแผนอย่างเป็นระบบ "ดูได้เลยว่าจะเป็นโครงการใดๆ ก็ตาม พระองค์จะทรงวางแผนอย่างเป็นระบบ ไม่มีการก้าวกระโดด ไม่กระโดดข้าม ภูมิปัญหา หรือขีดความสามารถของประชาชน ท่านไม่ได้ยัดเยียดให้ประชาชน แต่ท่านทรงส่งเสริมให้ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตรงนี้ผมนำมาใช้กับตัวเอง และบอกตัวเองเสมอว่าไม่ทำเกินความสามารถ ไม่ทำอะไรเกินตัว เพราะเราจะล้มทันที และผมเชื่อมั่นในคำว่าพระปรีชาสามารถของท่าน ในการมีพระราชวินิจฉัยอะไร อย่างเช่น ไฟฟ้า พระองค์ทรงหาอะไรมาทดแทน เพราะไม่อยากให้ประชาชน
8
สิ้นเปลือง แต่กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลพยายามยัดเยียดให้ เดี๋ยวนี้ดูได้ว่าชาวเขามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะแยะ ไปหมด มีแต่การสิ้นเปลือง ผมว่าพระบาทสมเด้จเจ้าอยู่หัว คงจะไม่รู้จะรับสั่งอะไรแล้ว เพราะรับสั่งอะไรแล้วไม่คิดกันต่อ เหมือนพ่อทำแต่ลูกไม่ทำตาม ถ้าเราเป็นพ่อ ลูกไม่ทำตาม ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจนะ" นีโน่ กล่าว เพียงเศษเสี้ยวจากคนบันเทิง ที่อยากทำความดี และความมุ่งมั่นในงานต่างๆ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจ จากพระราชกรณียกิจอันมากมายของในหลวงของเรา เท่านี้ก็นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แล้ว
ความสุขบนความพอเพียง: ความมั่นคงในบั้นปลายชีวิต 1
รศรินทร์ เกรย์ 2
ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ 3
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิตย์ 4


“ความสุข” ของคนไทยเป็นเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2548 – 2551 ) ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับแผนพัฒนาฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ที่เสนอว่าความสุขเริ่มจากระดับบุคคลก่อนและขยายวงกว้างไปยังครอบครัว ชุมชน และสถาบันต่าง ๆ และ ระดับประเทศตามลำดับ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2548)
แนวคิดการพัฒนาประเทศโดยให้ความสำคัญกับความสุขมากกว่าการให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ซึ่งริเริ่มโดยพระราชาธิบดี จิกเม ซิงเย วังชุก (Jigma Singye Wang Chuk ) กษัตริย์แห่งประเทศภูฐาน ได้ถูกนำไปอภิปรายอย่างกว้างขวางในหลายภูมิภาค (เจษณี สุขจิรัตติการ 2547) สำหรับในประเทศไทย นายแพทย์ประเวศ วะสี (2548) ได้เสนอแนวคิด ความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคมไทย ซึ่งรวมมิติทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและจิตใจไว้ด้วย โดยที่มุมมองทางเศรษฐกิจ เน้นไปที่มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง
ความสุขเป็นความรู้สึกองค์รวมเชิงอัตตวิสัย (Subjective) อาจเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ความสุขเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในเป็นเรื่องของจิตใจ เช่น การมีความสุข เนื่องจากการมีศีลธรรม สมาธิ หรือปัญญา ความรู้สึกพอเพียง ไม่โลภ (พระธรรมปิฎก มปป.) และความสุขซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัจจัยภายนอก เช่น มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีครอบครัวอบอุ่น การมีสุขภาพดี (ประเวศ วะสี 2548)
ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะประชากรสูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่

9

เปราะบางและพึ่งพิงผู้อื่น มีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ในปัจจุบันนี้คนไทยเมื่อมีอายุ 55 ปี จะมีชีวิตอยู่ได้อีกต่อไปโดยฉลี่ย 23 ปีสำหรับผู้ชาย และ 27 ปีสำหรับผู้หญิง (Prasartkul and Rakchanyaban 2002) ตัวชี้วัดนี้ทางประชากรศาสตร์เรียกว่า อายุขัยเฉลี่ยเมื่ออายุ 55 ปี หรือใช้สัญญลักษณ์ e55 ชึ่งในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ถ้าผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ย่อมทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอาจมีชีวิตยืนยาวไปกว่านี้ เนื่องจากสุขภาพกาย และสุขภาพใจไม่สามารถแยกจากกันได้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุ ทั้งปัจจัยภายนอก หรือสภาวะแวดล้อม และปัจจัยภายในทางด้านจิตใจของแต่ละบุคคล
ความสุข: ความหมาย ความสุขในทางพระพุทธศาสนา เกิดจากความสุขที่สัมพันธ์กับจากปัจจัยภายนอก และ ความสุขจากปัจจัยภายใน ความสุขจากปัจจัยภายนอก คือ ความสุขจากวัตถุที่สามารถเป็นเจ้าของได้ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค รถยนต์ ความสุขจากปัจจัยภายในหรือจิตวิญญาณเกิดจาก การปรุงแต่ง การฝึกจิต การนั่งสมาธิ ซึ่งจิตที่มีการฝึกฝนดีแล้ว จะสามารถมีภูมิต้านทานต่อความทุกข์จากปัจจัยภายนอก (พระธรรมปิฎก มปป.)
ความสุขที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก หรือทั่วๆไปใช้คำว่า “ ความอยู่ดีมีสุข” หรือ “ คุณภาพชีวิต” ซึ่งเป็นรูปธรรม และวัดเชิงภาวะวิสัย (Objective) ดัชนีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นการวัดองค์ประกอบความสุขจากปัจจัยภายนอก เช่น สุขภาพ ระดับการศึกษา การทำงาน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สภาพครอบครัวความเป็นอยู่ สภาพความเป็นอยู่ในชุมชน (สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ 2548) ศ. นพ. ประเวศ วะสี (2548) ได้ใช้คำว่า “ ความอยู่เย็นเป็นสุข” เป็นภาพสะท้อนของสังคมที่มีความสุขจากองค์รวมของทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน
ความสุขในทางจิตวิทยา เป็นความรู้สึกรวมทางอารมณ์ ที่แต่ละบุคคลตัดสินว่ามีความสุขมากหรือน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตที่กำลังดำเนินอยู่ ประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต และทัศนะคติที่มีต่อการดำเนินชีวิต หลักการวิธีคิดประสบการณ์ชีวิตอาจมีทั้งที่ก่อให้เกิดความสุข และความทุกข์ และระดับของความสุขและความทุกข์ขึ้นอยู่กับเราจะจดจำประสบการณ์ชีวิตนั้นได้มากหรือน้อย (Alexandrova 2005)
ทฤษฎีทางจิตวิทยา เชื่อว่าระดับของความสุขของแต่ละบุคคลเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเป็นคุณลักษณะที่เปลี่ยนไม่ได้ตลอดชีวิต ดังนั้นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ก็จะไปเพิ่มหรือลดระดับความสุขที่คงที่อยู่แล้ว อยู่ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อระยะเวลาผ่านไป ระดับความสุขก็จะกลับไปเท่าเดิม (Kahneman 1999; Csikszentmihalyi and Jeremy 2003)
ความสุข: มาตรวัด ดังที่ได้กล่าวว่า ระดับความสุขขึ้นอยู่กับหลายๆ องค์ประกอบ การสร้างดัชนี (มาตรวัด) ที่มีหลายองค์ประกอบทำได้ 2 แบบคือ 1) จากองค์ประกอบต่าง ๆ แล้วรวมเป็นดัชนีมวล
10
รวม (Composite index) หรือ 2) จากความรู้สึกรวมก่อน ซึ่งจะเป็นคำถามเดียว แล้วจึงพิจารณาองค์ประกอบ
สำหรับประเทศไทยมีการพัฒนาตัวชี้วัดความสุขทั้งสองแบบ ในแบบแรก ยงยุทธ ขจรธรรม และคณะ (2543)ได้เก็บข้อมูลองค์ประกอบของความสุขก่อน และหาค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชากรที่ศึกษา ซึ่งค่าถ่วงน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบไม่เท่ากัน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้หาค่าดัชนีมวลรวมความอยู่ดีมีสุขโดยรวมจากองค์ประกอบต่างๆ เช่นเดียวกันแต่ให้ค่าถ่วงน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบเท่ากัน สำหรับการพัฒนาดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index –HDI) ขององค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ใช้ทั้งสองแบบ (Irala and Gil 1999)
สำหรับวิธีการที่สอง ซึ่งเป็นการใช้คำถามเดียว สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้ศึกษาถึงความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว โดยสอบถามถึงระดับความสุข ตั้งแต่ระดับ 1-10 (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว 2548) สำหรับโลกตะวันตกให้ความสำคัญกับคำถามเดียว (Hird 2003; World Data Base of Happiness: http:///www.eur.nl/fsw/happiness/) โดยมีระดับความสุขต่างกันออกไปตั้งแต่ 4 ถึง 5 ระดับ และ 0-10. สำหรับคำถามเดียว เช่น เมื่อพิจารณาจากทุกสิ่งทุกอย่างรวมกัน ท่านมีความรู้สึกพอใจในชีวิตอย่างไรในปัจจุบัน (How satisfied are you with your life, all things considered? ) คำตอบมี 4 ระดับ ตั้งแต่ พอใจมาก จนถึงไม่พอใจเลย (Kohler et al 2005)
ในการศึกษาครั้งนี้ การวัดความสุขได้ใช้คำถามเดียว คือ “ ตอนนี้ท่านมีความรู้สึกอย่างไร” ไม่มีคำที่มีความหมายในเชิงบวก เช่น พอใจ หรือ ความสุข ในคำถาม เพราะทุกคนมีความทุกข์และความสุข สุขมากคือทุกข์น้อย โดยให้ผู้ตอบสัมภาษณ์มองภาพยิ้ม คำตอบมีระดับ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 โดยที่ 0 หมายถึง มีความทุกข์มากที่สุด 5 หมายถึง ไม่สุขไม่ทุกข์ 10 หมายถึง มีความสุขมากที่สุด และในคำถามถัดไป ถามว่า “สาเหตุที่ท่านตอบคำถามตามข้อ (ระดับความสุข) เพราะอะไร” โดยตอบได้ 3 คำตอบเป็นปลายเปิดเรียงตามระดับความสำคัญ
นอกจากนี้ยังมีคำถามในชุดความสุขอีกสองคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกในอนาคต คือ “ ในอนาคตต่อไปข้างหน้าท่านคิดว่าท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร” คำตอบเหมือนกับความรู้สึกในปัจจุบัน และคำถามเกี่ยวกับความมั่นใจต่อความรู้สึกนั้นว่าจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข
ในงานวิจัยความสุขของผู้สูงอายุพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสุข ได้แก่ สถานะทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม การเกื้อหนุนทางสังคมหรือการมีเครือข่ายทางสังคม (Pinquart and Soren 2000) และปัจจัยทางด้านครอบครัว แต่ตัวแปรเฉพาะเรื่องมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น ผู้สูงอายุที่มีฐานะทางการเงินพอเพียง มีโรคเรื้อรังน้อย และได้รับความเกื้อหนุนทางสังคมมากกว่ามีความรู้สึกหดหู่น้อยกว่า (Chi 1995) การมีญาติพี่น้องมาก มีการศึกษามากกว่า มีรายได้มากกว่า มีความพอใจ
11
ในรูปแบบการอยู่อาศัย มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญต่อความพอใจในชีวิต (Ho et al 1995 ) แต่บางการศึกษาพบว่า รายได้เท่านั้นที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสุขของผู้สูงอายุ (Li 1995) หรือพบว่าสภาพแวดล้อมในครอบครัว และสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญ ( Meng and Xiang 1997) และการได้รับบำนาญ การดูแลสุขภาพ ขนาดของครอบครัวและรูปแบบการอยู่อาศัย เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสุขใจในชีวิต (Pei and Pillai 1999)
ความสุขทางใจของผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ในสังคมตะวันตกซึ่งเป็นสังคมแบบปัจเจกชนนิยม (Individualistic Society) ความสุขของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับ การพึ่งพาตนเองได้ การควบคุมสถานการณ์ การพัฒนาตน ความพึงพอใจในชีวิต การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และการยอบรับตนเอง (Ryff 1989) สำหรับความสุขของผู้สูงอายุไทย ซึ่งอยู่ในรูปแบบสังคมตะวันออกที่มีลักษณะสังคมรวมหมู่ (Collective Society) เน้นการพึ่งพาอาศัยกัน พบว่าผู้สูงอายุไทยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสุขใน 5 มิติ คือ 1)ความสามัคคีปรองดอง ของครอบครัวและเพื่อนบ้าน 2) การพึ่งพาอาศัยกันและกันระหว่างผู้สูงอายุและลูกหลาน รวมถึง เพื่อนบ้าน และชุมชน 3) ความสงบสุขและการยอมรับ หรือการทำใจให้มีความสุข ซึ่งเป็นผลมาจากศาสนา 4) การได้รับความเคารพ นับถือ และ 5) ความเบิกบาน การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน การไปวัด (จิราพร และคณะ 2543; Ingersoll-Dayton et al. 2004)













คำนำ
เอกสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ความเป็นเลิศทางวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “ เศรษฐกิจแบบพอเพียง ” ในการทำเอกสารเล่มนี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
ในเนื้อหารายงานมีใจความสำคัญของเศรษฐกิจแบบพอเพียง เช่น การผลิตตามทฤษฎีใหม่ ประการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง มีเนื้อหาเข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ผู้จัดทำเอกสารหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่สนใจและได้อ่านเอกสารเล่มนี้จะนำหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ
20 กันยายน 2551



















สารบัญ

เรื่อง หน้า



























บรรณานุกรม

school.obec.go.th ความหมายของเศรษฐกิจ,2551.
th.wikipedia.org เศรษฐกิจพอเพียง,2551.
www.inspect9.moe.go.th ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง,2551.
www.parliament.go.th ชีวิตแบบพอเพียง,2551.
www.ipsr.mahidol.ac.th ความสุขบนความพอเพียง,2551.

ไม่มีความคิดเห็น: